งานวิจัยและบทความ

ประเด็นประติมานวิทยาในโบราณคดีวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม

โดย Nicolas Revire

เผยแพร่เมื่อ 9 พฤษภาคม 2024

โบราณคดี, ประติมานวิทยา
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารสยามสมาคม Vol. 98 (2010)

ดาวน์โหลด

Iconographical issues in the archeology of Wat Phra Men, Nakhon Pathom


วัดพระเมรุเป็นวัดที่สำคัญในจังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่ในที่ราบภาคกลางของประเทศไทย มีอายุในราวศตวรรษที่ 7 ถึงศตวรรษที่ 8 มีการศึกษาวัดพระเมรุอีกครั้งเพื่อหาข้อสรุปที่แตกต่าง จากการศึกษาประติมานวิทยาของพระพุทธรูปของวัด พบพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่จัดแสดงในวัดและพิพิธภัณฑ์อื่น ราวสี่ถึงห้ารูปประทับนั่งในลักษณะที่เรียกว่า "แบบยุโรป" โดยระบุว่าแหล่งที่มาจากวัดแห่งนี้ เมื่อพิจารณาประวัติของการค้นพบและการบูรณะวัดพบว่า แม้โบราณสถานนี้มีลักษณะที่ชัดเจนและดั้งเดิมแต่ยังพบข้อชวนพินิจหลายประการ หากพิจารณาประติมานวิทยาของพระพุทธรูป พบว่าสามารถตีความได้หลากหลาย ตามประเพณีพุทธศาสนาที่ปฏิบัติในที่นี้ ฉะนั้น พุทธศาสนายุคทวารวดีจึงปรากฏลักษณะต่าง ๆ นานา ดังเช่น รูปแบบพระพุทธรูปแบบพุทธศาสนามหายานที่อาจได้รับอิทธิพลจากศิลปะทวารวดีของวัดพระเมรุ ผลของการศึกษาใหม่นี้ควรนำไปใช้ในการตีความแหล่งพุทธศาสนาอื่นๆ ในจังหวัดนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง