งานวิจัยและบทความ

การทำไม้สักในลุ่มน้ำข้ามพรมแดน: กรณีศึกษาประวัติศาสตร์ของลุ่มน้ำอิงในภาคเหนือของประเทศไทย

โดย Shinya Takeda, ศุภวัฒน์ เลาหชัยบุณย์

เผยแพร่เมื่อ 12 พฤษภาคม 2024

ประวัติศาสตร์
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารสยามสมาคม Vol. 95 (2007)

ดาวน์โหลด

Teak Logging in a Trans-Boundary Watershed: An Historical Case Study of the Ing River Basin in Northern Thailand


บทความนี้ศึกษาสถานการณ์การทำไม้สักโดยรอบลุ่มน้ำอิง ซึ่งเป็นลุ่มน้ำสาขาของแม่น้ำโขง ในช่วง ค.ศ. 1909-1924   (พ.ศ. 2452-2467) โดยพบว่า การทำไม้สักในป่าไม้ในลุ่มน้ำอิงมิใช่เหตุการณ์ธรรมดาที่เกิดขึ้นในภาวะสุญญากาศทางภูมิรัฐศาสตร์  ประการแรก กิจการไม้สักสามารถเกิดขึ้นได้เพราะการที่ฝรั่งเศสเข้าควบคุมดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศส รวมถึงดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงบางส่วนซึ่งสยามได้ยกให้ฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) ประการที่สอง การดําเนินกิจการทำไม้สักในภูมิภาคนี้ขึ้นอยู่กับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของแม่น้ําโขง กล่าวคือ ไม้สักจากป่าไม้ในบริเวณลุ่มน้ำอิงสามารถขนส่งออกมาได้ผ่านทางแม่น้ําซึ่งไหลผ่านพรมแดนระหว่างสยามและอินโดจีนของฝรั่งเศสเท่านั้น