งานวิจัยและบทความ
![](/knowledge-hub/images/solid-500.png)
ข้าวและศาสนา: การศึกษาวิวัฒนาการและวัฒนธรรมมอญ-เขมรโบราณ
โดย Gordon H. Luce
เผยแพร่เมื่อ 31 พฤษภาคม 2024
ภาษาและวรรณกรรม, ศาสนาพุทธ
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารสยามสมาคม Vol. 53.2 (2508)
ดาวน์โหลด
Rice and Religion : A Study of Old Mon-Khmer Evolution and Culture
บทความนี้นำเสนอข้อโต้แย้งที่ว่าอาณาจักรทวารวดี (บริเวณภาคกลางของประเทศไทยในปัจจุบัน) เป็นถิ่นกำเนิดของอักษรอินเดียแบบพม่าและต้นแบบแรกของพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งแตกต่างจากความเข้าใจทั่วไปที่ว่าพม่าคือจุดกำเนิดของพัฒนาการเหล่านี้ ในขณะที่ต่อมา พุทธศาสนาเถรวาทได้เจริญรุ่งเรืองอย่างมากในดินแดนพม่าและกลายเป็นรากฐานสำคัญของอารยธรรมพม่ายุคหลัง ปรากฏการณ์นี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง นั่นก็คือ "ข้าว" การค้นพบวิธีการทำนาโดยอาศัยการทดน้ำและระบายน้ำนับเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ และในยุคปัจจุบันข้าวก็ยังคงเป็นผลิตผลหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้คนให้ความสำคัญกับข้าวเป็นอย่างมาก บ่อยครั้งผ่านมุมมองทางไสยศาสตร์ และข้าวก็น่าจะมีบทบาทสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ด้วย อย่างไรก็ตาม ต้นกำเนิดของการทำนาทดน้ำ (wet rice) ยังคงเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันอยู่ ถึงแม้นักพฤกษศาสตร์จะเชื่อว่าน่าจะเริ่มต้นในพื้นที่มีความชุ่มชื้นที่เคยมีการทำไร่ข้าวอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งก็คือบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั่นเอง แต่ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าเกิดขึ้นที่ใดก่อน บทความนี้จึงพยายามศึกษาวิเคราะห์ภาษาในตระกูลมอญ-เขมรที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เพื่อสำรวจรูปแบบการย้ายถิ่นของผู้คนในอดีต และทำความเข้าใจการเคลื่อนย้ายและการแพร่ขยายของทั้งการปลูกข้าวและศาสนาพุทธในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเสนอว่าอินเดียใช้พุทธศาสนาเพื่อ "แลก" ข้าว ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนที่นำไปสู่พัฒนาการสำคัญๆ ของอาณาจักรทวารวดี