งานวิจัยและบทความ

จากบัวพ้นน้ำสู่ภูมิปัญญาของกรู๊ต: การมีส่วนร่วมของความท้าทายทางนิเวศวิทยาร่วมสมัยกับวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดย ชัยวัฒน์ สถาอานันท์

เผยแพร่เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2024

ภูมิปัญญาท้องถิ่น, นิเวศวิทยา
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารสยามสมาคม Vol. 111 No. 2 (2023)

ดาวน์โหลด

From the Floating Lotus to Groot’s Wisdom: Engaging Contemporary Ecological Challenges with Southeast Asian Cultures


 อดีตเลขาธิการสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สุรินทร์ พิศสุวรรณ ตั้งความหวังให้ประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นองค์กรนานาชาติในระดับภูมิภาคพัฒนาสู่ชุมชน ด้วยภัยคุกคามความมั่นคงมนุษย์ที่เกิดจากปัญหาด้านนิเวศวิทยาหลายประการ การแสวงหาวิถีวัฒนธรรมในมรดกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจช่วยให้คนในภูมิภาคทั้งรุ่นเยาว์และรุ่นใหญ่ สามารถเผชิญกับภัยคุกคามด้านนิเวศสิ่งแวดล้อมร่วมกันดั่งชุมชนที่ผนึกกำลัง

เมื่อพิจารณาดังนี้ บทความนำเสนอห้าประเด็นด้วยกัน  1) บทความกล่าวถึงภัยคุกคามด้านนิเวศวิทยาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เกิดกับองค์ประกอบสำคัญในธรรมชาติ ทั้งดิน ลม ไฟ และน้ำ 2) บทความพิเคราะห์ถึงรากฐานความรู้และการปฏิบัติต่อธรรมชาติ 3) บทความยกเรื่องเล่าแต่ก่อน ที่กล่าวถึงนักรบผู้บาดเจ็บค้นพบสีลัต ซึ่งเป็นศิลปะป้องกันตัวมาเลย์ เพื่อเป็นข้อเสนอในการแก้ปัญหาภัยคุกคามดังกล่าว 4) บทความทบทวนกรณีที่ประสบผลสำเร็จในการปกป้องธรรมชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนสองเรื่อง ได้แก่ การบวชต้นไม้ในประเทศไทย และมัสยิดเพื่อสิ่งแวดล้อมในอินโดนีเซีย และ 5) บทความกล่าวถึงความสำเร็จของภาพยนตร์มาร์เวลที่สร้างแรงบันดาลใจ ในการแสวงหาวิถีทางใหม่ในการปกป้องและย้ำบทบาทของชุมชนทั้งคนและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในการเผชิญปัญหา