งานวิจัยและบทความ

การส่งเสริมศักยภาพสภาวัฒนธรรมในการดำเนินงานสงวนและรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

โดย จีระวัฒน์ ลีนะกนิษฐ์, ชวัลลักษณ์ คุณาธิกรกิจ, บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์

เผยแพร่เมื่อ 22 พฤษภาคม 2024

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม, การอนุรักษ์และสงวนรักษามรดกวัฒนธรรม
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารรัชต์ภาคย์. 14, 34 (มิ.ย. 2020), 186–202.


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทสภาวัฒนธรรมในการดำเนินงานสงวนและรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ 2) ศึกษาอุปสรรค ปัญหาของสภาวัฒนธรรมในการดำเนินงานสงวนและรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมศักยภาพสภาวัฒนธรรมในการดำเนินงานสงวนและรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสนทนากลุ่ม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามี 3 กลุ่ม คือ 1) วัฒนธรรมจังหวัด 2) กลุ่มผู้อำนวยการและนักวิชาการ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และ 3) สภาวัฒนธรรมจังหวัดหรือสภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ ผลการวิจัยพบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องมีความไม่ชัดเจน บทบาทสภาวัฒนธรรมมีการทำงานในลักษณะจิตอาสา ตลอดจนนโยบายมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งต้องแก้ไขโดยมีการพัฒนาความรู้บุคลากร พัฒนากระบวนการและสนับสนุนเครื่องมือในการดำเนินการ เพื่อให้สภาวัฒนธรรม มีบทบาทในการส่งเสริมศักยภาพสภาวัฒนธรรมในการดำเนินงานสงวนและรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โดยสภาวัฒนธรรมเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นเป็นอย่างดี ควรเป็นผู้มีบทบาทในการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม แต่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาของกฎหมายและขาดการได้รับข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง ชัดเจน