งานวิจัยและบทความ
การเสริมสร้างพลังอำนาจของเยาวชนต่อการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
โดย กมลวรรณ วรรณธนัง
เผยแพร่เมื่อ 24 พฤษภาคม 2024
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, การอนุรักษ์และสงวนรักษามรดกวัฒนธรรม
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารวิจัยรำไพพรรณี ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 (2019): กันยายน - ธันวาคม 2562
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจของเยาวชนต่อการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และ2) เปรียบเทียบการเสริมสร้างพลังอำนาจของเยาวชนต่อการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เยาวชนที่ศึกษาในสถาบันการศึกษาในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จำนวน 380 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยค่าสถิติที การทดสอบด้วยค่าสถิติเอฟ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยการทดสอบด้วยวิธีแอล เอส ดี กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า 1) การเสริมสร้างพลังอำนาจของเยาวชนต่อการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การสนับสนุน การสร้างความคิด และการเสริมแรง และ 2) การเสริมสร้างพลังอำนาจของเยาวชนต่อการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาจำแนกตามระดับการศึกษาและเกรดเฉลี่ย ภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ