งานวิจัยและบทความ

มรดกพุทธศิลปสถาปัตยกรรม วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช

โดย เกรียงไกร เกิดศิริ, นันทวรรณ ม่วงใหญ่, อิสรชัย บูรณะอรรจน์

เผยแพร่เมื่อ 24 พฤษภาคม 2024

สถาปัตยกรรม, ศาสนาพุทธ, ศิลปกรรม
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม, ฉบับที่ 28 (2014)


“ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช” มุ่งทำการศึกษารูปแบบ ศิลปสถาปัตยกรรมของวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชโดยละเอียด โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบบูรณาการทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ด้วยการใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทต่างๆ สอบทวนกัน เพื่อให้ทราบถึงประวัติศาสตร์การก่อสร้าง พัฒนาการทางรูปแบบสถาปัตยกรรมร่วมกับการสำรวจรังวัดสถาปัตยกรรมต่างๆ ในวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชโดยละเอียด การจัดทำฐานข้อมูลภาพถ่ายปัจจุบัน การค้นคว้าข้อมูลจากภาพถ่ายเก่า ตลอดจนการจัดทำแบบสถาปัตยกรรม และแบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์สามมิติ เพื่ออธิบายรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชอย่างเป็นระบบเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในเส้นทางสู่การเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม และการสื่อความหมายเพื่อการท่องเที่ยว

ในที่นี้ ได้ดำเนินการศึกษาอาคารสำคัญภายในผังบริเวณวัดพระบรมธาตนครศรีธรรมราช เพื่อเรียบเรียงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนคำอธิบายทางสถาปัตยกรรม และศิลปกรรม รวมทั้ง จัดทำแบบสถาปัตยกรรม และแบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์สามมิติ ทั้งสิ้น 8 อาคาร คือ องค์พระ บรมธาตุเจดีย์, พระระเบียงทับเกษตร, พระวิหารเขียน, พระวิหารมหาภิเนษกรมณ์ หรือวิหารพระ ทรงม้า, พระวิหารธรรมศาลา, พระระเบียงคต, พระวิหารหลวงโดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อนำเสนอข้อมูล ข้อสังเกต และองค์ความรู้ใหม่ที่ค้นพบซึ่ง เกี่ยวเนื่องกับรูปแบบสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม รวมทั้งการจัดทำแบบ สถาปัตยกรรม แบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์สามมิติ จากข้อมูลการสำรวจภาคสนาม เพื่อนำไปใช้ ประโยชน์ต่อเนื่องในแง่ของการบริหารจัดการมรดกทางวัฒนธรรม การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ตลอดจนนำไปสู่การจัดการการสื่อความหมายแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมให้เกิดการ เรียนรู้ และนำไปประยุกต์สู่การทำเอกสารประกอบการพิจารณาเพื่อเสนอ “วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช (Wat Phra Mahathat Woramahawihan, Nakhon Si Thammarat)”2 เพื่อ ประกาศยกย่องเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในโอกาสต่อไป