งานวิจัยและบทความ
การพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์สำหรับการเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของภาคใต้ตอนล่าง
โดย เขมิกา ขำดำ, รัฐศาสตร์ เครือทอง, วิสิทธิ์ บุญชุม
เผยแพร่เมื่อ 24 พฤษภาคม 2024
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม, การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ทำให้คนในชุมชนเกิดความภาคภูมิใจและควรอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เพื่อการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของภาคใต้ตอนล่างคือ รองเง็ง สิละ มะโย่งและบานอ ให้คงอยู่สืบไป โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ สำหรับการเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของภาคใต้ตอนล่าง การวิจัยเริ่มจากการศึกษาวงจรการพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือโดยใช้ SDLC มีการใช้เครื่องมือ Ionic Framework การเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล MySQLi โดยใช้ JSON ใช้ตัวจัดการฐานข้อมูล XAMPP ขั้นตอนการพัฒนา 1) รวบรวมและจัดหมวดหมู่ข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 2) ออกแบบเมนูและส่วนติดต่อกับผู้ใช้ให้ดึงดูดความสนใจ ใช้งานง่าย เข้าถึงข้อมูลรวดเร็วและน่าเชื่อถือ กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 35 คน มีเครื่องมือคือ 1) แอปพลิเคชันบนมือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เพื่อการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของภาคใต้ตอนล่าง 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ระดับความพึงพอใจ 1) ด้านการออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.24 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.59 2) ด้านความน่าเชื่อถือและประโยชน์ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.11 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.67 สรุปผลการวิจัยว่า การพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือได้ส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์ การเรียนรู้และการเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง ทำให้สิ่งที่มีคุณค่าเหล่านี้จะไม่หายไปจากชุมชน