งานวิจัยและบทความ

ความไม่ลงรอยในเมืองเก่ากรุงเทพ : มรดก การท่องเที่ยว และเจนตริฟิเคชัน

โดย จาตุรงค์ โพคะรัตน์ศิริ

เผยแพร่เมื่อ 25 พฤษภาคม 2024

เมืองเก่า
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม, ฉบับที่ 9 (2555)


ความไม่ลงรอย เป็นลักษณะโดยธรรมชาติที่สำคัญอย่างหนึ่งของมรดกที่พบโดยทั่วไปในการอนุรักษ์และการจัดการสิ่งแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ บทความนี้ตั้งคำถามในเรื่องผลประโยชน์ด้านคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรมของการอนุรักษ์ชุมชนเมืองจากการเข้าแทรกแซงโดยการท่องเที่ยวและปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชันในย่านประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานครในประเทศไทย ซึ่งเป็นแหล่งมรดกมีชีวิตที่กำลังดิ้นรนเพื่อรับมือกับ “คุณค่าในตัวผู้คน” ของเมืองนี้เอง ความขัดแย้งด้านสังคมและการเมือง และด้านกฎหมายบนสิ่งที่เรียกว่าอาคารมรดกของ “เมืองเก่ากรุงเทพ” ได้ถูกนำมาค้นหาผ่านชุมชนกรณีศึกษาสามแห่ง คือ ป้อมมหากาฬ เลื่อนฤทธิ์ และบางลำพู กรณีเหล่านี้เป็นตัวแทนแสดงถึงความไม่ลงรอยด้านมรดกที่ชุมชนมีต่อหน่วยงานรัฐ ต่อเจ้าของที่ดิน และภายในชุมชนเอง ทั้งการท่องเที่ยวและเจนตริฟิเคชันเป็นแรงผลักดันหลักของความขัดแย้งในบริบทนี้ ซึ่งไม่ได้ถูกอ้างถึงเพื่อกล่าวโทษแต่เพื่อขยายความในสิ่งที่ยังเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณค่ามรดก ซึ่งสามารถนำไปใช้ร่วมกับนโยบายแบบรับคำสั่งจากเบื้องบนและการจัดการที่ไม่สนใจประเด็นละเอียดอ่อน เพื่อเห็นแก่การปกป้องรักษาความสำคัญทางวัฒนธรรมของแหล่งมรดกจึงสมควรมีนโยบายและแผนซึ่งมุ่งจัดการประเด็นคุณค่าทางสังคมซึ่งสั่งสมและงอกเงยจากตัวผู้คนในแหล่ง เพื่อให้บรรลุถึงธรรมาภิบาลด้านการอนุรักษ์ชุมชนเมืองและการจัดการมรดกที่มีความเหมาะสมและยั่งยืน