งานวิจัยและบทความ
ข้อพิจารณาในการปรับใช้แนวคิดการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมเมืองในระดับสากลกับการอนุรักษ์ในประเทศไทย
โดย วิมลรัตน์ อิสระธรรมนูญ
เผยแพร่เมื่อ 26 พฤษภาคม 2024
การอนุรักษ์และสงวนรักษามรดกวัฒนธรรม, มรดกเมือง
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารวิชาการสถาปัตยกรรมศาสตร์, ปีที่ 67 (2018): มกราคม - ธันวาคม 2561
แนวคิดการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมเมืองในกฎบัตรและหลักการในระดับนานาชาติได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การศึกษาพบว่าแนวคิดการอนุรักษ์สากล เปลี่ยนจากแนวคิดการรักษาอาคารประวัติศาสตร์ในพื้นที่ศูนย์กลางเมือง มาสู่แนวคิดการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมเมือง ที่ครอบคลุมเนื้อหาอย่างกว้างขวาง บนฐานของการพิจารณาพื้นที่จากมุมมองในลักษณะภูมิทัศน์เมือง มีการให้ความสำคัญกับองค์ประกอบทางกายภาพ องค์ประกอบทางนามธรรม รวมถึงองค์ประกอบที่แสดงลักษณะเฉพาะของพื้นที่ รวมถึงมีการผนวกอนุรักษ์ให้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืน ในการนำแนวคิดสากลมาปรับใช้กับแนวคิดการอนุรักษ์ในประเทศไทย การศึกษานี้เสนอให้ใช้นิยาม “ย่านชุมชนเก่า” ที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม นิยามดังกล่าวควรได้รับการปรับ โดยเพิ่มประเด็นสำคัญในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การพิจารณาคุณค่าที่ประชาชนให้ความสำคัญ และคุณค่าที่สัมพันธ์กับกระบวนการพัฒนาเมือง การให้ความเคารพต่อคุณลักษณะของย่านและชุมชนเก่าของไทย นอกจากนี้ การจัดการแหล่งมรดกที่ดีที่มีการเอื้อให้ประชาชนมีส่วนร่วม และการใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพควรได้รับการดำเนินการ