งานวิจัยและบทความ

การศึกษาลักษณะทางด้านศิลาวรรณาของหม้อสามขาในประเทศไทย

โดย ชวลิต ขาวเขียว

เผยแพร่เมื่อ 14 มิถุนายน 2024

โบราณคดี
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

ดำรงวิชาการ, ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (2012): มกราคม - มิถุนายน 2555


บทความนี้นําเสนอผลการศึกษาลักษณะศิลาวรรณาของหม้อสามขา จากแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ภาคกลางและพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย    เพื่อศึกษาถึงเทคโนโลยีการผลิต แหล่งวัตถุดิบ อุณหภูมิการเผา ผลการศึกษาพบว่า  หม้อสามขาจากพื้นที่ภาคกลางจะใช้ดินในท้องถิ่นมาผลิต จัดเป็นภาชนะดินเผาเนื้อดิน ขนาดทรายละเอียด มีการเตรียมดินที่ดี อุณหภูมิการเผาประมาณ 500   – 600   องศาเซลเซียส เผาแบบสุมไฟในพื้นที่โล่งแจ้ง ส่วนหม้อสามขาจากพื้นที่ภาคใต้จะใช้ดินในท้องถิ่นมาผลิต จัดเป็นภาชนะดินเผาเนื้อดิน ขนาดค่อนข้างหยาบ ไม่มีการเตรียมดิน อุณหภูมิการเผาประมาณ 500 – 600 องศาเซลเซียส เผาแบบสุมไฟในพื้นที่โล่งแจ้ง