งานวิจัยและบทความ
แผนที่กรุงเทพฯ ค.ศ. 1856-1861: ความเปลี่ยนแปลงของนครหลวงภายหลังสนธิสัญญาเบาว์ริงในระยะเปลี่ยนผ่าน
โดย Simon Landy
เผยแพร่เมื่อ 9 พฤษภาคม 2024
ประวัติศาสตร์
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารสยามสมาคม Vol. 108 No. 1 (2020)
ดาวน์โหลด
การสำรวจแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างละเอียดครั้งแรก ตั้งแต่อ่าวไทยของสยามถึงกรุงเทพ เกิดขึ้นโดยความบังเอิญของคณะผู้แทนอังกฤษซึ่งนำโดยกับตันจอห์น ริชาร์ดส์ในการสำรวจชายฝั่งอ่าวไทยในช่วงปลายทศวรรษ 1850 แผนที่แม่น้ำของริชาร์ดส์ ค.ศ. 1856 กลายเป็นเค้าโครงในการจัดทำแผนที่ที่บันทึกเนื้อหาสำคัญทางวัฒนธรรมในสามปีต่อมา แผนที่นั้นจัดทำโดยแดน บีช แบรดลีย์ หนึ่งในคณะมิชชันนารีอเมริกัน แสดงให้เห็นทั้งลักษณะภูมิศาสตร์และความเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยพิจารณาจากสถานที่ตั้งของชาวตะวันตกและชุมชนการค้าในเวลานั้น
ผู้เขียนรวบรวมข้อมูลจากจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สหราชอาณาจักร เพื่ออภิปรายให้เห็นว่าแผนที่ของริชาร์ดส์เชื่อมโยงกับทัศนคติของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการสำรวจ และพิจารณารายละเอียดทางกายภาพที่ปรากฏในแผนที่ของริชาร์ดส์ จากนั้น ผู้เขียนอภิปรายถึงแผนที่ที่จัดพิมพ์โดยแบรดลีย์ ค.ศ. 1860-1861 ทั้งวิวัฒนาการและความสำคัญ โดยเริ่มจากจุดกำเนิดของแผนที่แม่น้ำทั้งสี่สายในภาคกลางของประเทศไทยโดยคณะมิชชันนารีอเมริกัน สุดท้าย เน้นอภิปรายการทำแผนที่ของแบรดลีย์ ในการบันทึกริมฝั่งน้ำที่สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลง ความต่อเนื่อง และตำแหน่งที่ตั้งสำคัญของชุมชนต่างชาติชั้นนำในกรุงเทพฯ ระยะหลังการลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง ค.ศ. 1855 นครหลวงเผชิญกับคลื่นอิทธิพลตะวันตกที่ถาโถม