งานวิจัยและบทความ

การปกป้องดูแลแหล่งทรัพยากรดั้งเดิมในภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของมาเลเซีย

โดย Nurul Salmi Abdul Latip

เผยแพร่เมื่อ 13 ธันวาคม 2023

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารสยามสมาคม Vol. 111 No. 2 (2023)

ดาวน์โหลด

Traditional Natural Resource Stewardship in Malaysia’s Rapidly Changing Landscape


มาเลเซียขึ้นชื่อเรื่องความรุ่มรวยของทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าไม้ คนพื้นถิ่นหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า โอรัง อัสลี อาศัยในป่าและพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ กลุ่มหนึ่งคือ เตมีอาร์ ที่อาศัยอยู่ในป่าบนเทือกเขาติตวังซอ กลุ่มเตมีอาร์เชื่อว่าป่าเป็น ตูฮัด หรือผู้สร้าง พวกเขาสั่งสมภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าไม้มาเป็นเวลาหลายศตวรรษ ความรู้บางส่วนถูกกำหนดไว้ในกิจกรรมในรอบปีหรือที่เรียกว่า ตาฮูด ได้แก่ ปฏิทินการเพาะปลูก การล่าสัตว์ และการใช้ประโยชน์จากป่า กฎเหล่านี้รับประกันความอยู่รอดของป่าไม้ในอนาคต

ในขณะที่มาเลเซียเปิดรับการพัฒนา โครงการต่างๆ มากมายกลับเป็นภัยคุกคามต่อป่าไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจการค้าไม้ซุง การตัดไม้ทำลายป่าส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศหลายด้าน เช่น แหล่งน้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ และสภาพภูมิอากาศสำหรับชนพื้นเมือง ป่าคือชีวิต หากสูญเสียป่า ย่อมหมายถึงชีวิตที่ดับสูญ บางคนต้องย้ายเข้าสู่เมืองเพื่อแสวงหางาน ทำให้พวกเขาสูญเสียความรู้ดั้งเดิมไป บางชุมชนต่อสู้เพื่อปกป้องผืนดินของตนด้วยการกีดกั้นเส้นทางของผู้ค้าไม้ และขอความช่วยเหลือจากทนายและองค์กรพัฒนาเอกชน การอนุรักษ์ บันทึก และรักษาความรู้ดั้งเดิมเอาไว้ในกระแสหลักจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อยังประโยชน์ให้กับชุมชนพื้นถิ่น ประเทศชาติ และโลก