งานวิจัยและบทความ

ประวัติโดยสังเขปในการปกป้องมรดกวัฒนธรรมในประเทศไทย
โดย พิริยะ ไกรฤกษ์
เผยแพร่เมื่อ 9 พฤษภาคม 2024
การอนุรักษ์และสงวนรักษามรดกวัฒนธรรม
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารสยามสมาคม Vol. 100 (2012)
ดาวน์โหลด
ประเทศไทยมีประวัติอันยาวนานในการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 จนถึงศตวรรษที่ 19 วัตถุประสงค์ในการปกป้องโบราณสถานที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมถึงวิธีการอนุรักษ์ต่างจากปัจจุบันอย่างมากนานนับพันปี ความศรัทธาส่วนบุคคลเป็นเหตุผลหลักในการอนุรักษ์ แต่นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ทางการเข้ามามีบทบาทในการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ของการอนุรักษ์จึงเปลี่ยนไปจากความศรัทธาทางศาสนาสู่ความภาคภูมิใจของชาติ ในทศวรรษ 1960 การพัฒนาถูกมองเป็นภัยคุกคามต่อการอนุรักษ์ แต่ในระยะยี่สิบปีให้หลัง รัฐกลับใช้การอนุรักษ์เป็นวิธีการส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจเพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว กล่าวได้ว่า พัฒนาการในการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นควบคู่กับการพัฒนาของชาติไทย จากอาณาจักรที่ยึดมั่นในพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมไปสู่รัฐที่นับถือวัตถุนิยมแบบสมัยใหม่