1ค. ตำแหน่งฐานะของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา
เครื่องราชบรรณาการแก่สหรัฐอเมริกา
สถาบันสมิธโซเนียน – ห้องนิทรรศการ 1
กษัตริย์และประมุขของประเทศในยุโรป ได้รับการยกย่องให้เท่าเทียมราชสำนักไทย ดังจะเห็นได้จากเครื่องราชบรรณาการที่ทรงส่งไปถวายพระราชินีนาถวิคทอเรีย และพระราชทานแก่ประมุขประเทศฝรั่งเศส ในอดีตราชสำนักไทยได้เคยส่งเครื่องราชบรรณาการไปให้สหรัฐอเมริกา แต่สำหรับประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับเลือกตั้งในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยจะถือตำแหน่งฐานะอย่างไร ?
นับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญในระหว่างการเจรจาสนธิสัญญา แฮริส ค.ศ.1857 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงเห็นด้วยกับการต้องส่งเครื่องราชบรรณาการอีก แต่ควรจะพระราชทานของกำนัลอย่างใดดีเมื่อเสร็จสิ้นการทำสนธิสัญญา ?
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักดีว่า ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ มิใช่กษัตริย์แต่เป็นประมุขของประเทศ จึงควรได้รับพระราชทานพระสาส์น พร้อมทั้งเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับขุนนางชั้นสูงแทนเครื่องฯ สำหรับกษัตริย์ ในขณะที่กษัตริย์แห่งประเทศตะวันตก มักได้รับเครื่องยศประดับอัญมณีเทียบเท่าพระบรมวงศานุวงศ์ของไทย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จึงโปรดเกล้าฯ แยกพระราชทานของกำนัลแก่ประธานาธิบดีเพียซ พระองค์ละหนึ่งชุด
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานของกำนัลตามราชประเพณี ได้แก่ผ้ายกทอง เครื่องถมทอง โหม่งทองเหลือง กลองมโหระทึกทองเหลือง และพานทองเหลือง ของที่เห็นอยู่นี่คือ ชุดเชี่ยนหมากถมฆ้อง และพาน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานดาบ กริช หอก ทอง 1 คู่ เงิน 1 คู่ กรรไกรตัดจุก กล้องยานัตถุ์กล่องยานัตถุ์ทอง แหวนเพชรตาแมว แท่นขวดหมึกทำด้วยทอง ชุดเชี่ยนหมากถมทอง 5 ชิ้น ตลุ่มมุกด์ กลองใหญ่ กลองยาว 1 คู่ ผ้ายกทอง 2 ชิ้น ผ้าปูม 4 ชิ้น,
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังได้พระราชทานของกำนัลที่ใคร่เป็นของไทย ได้แก่ พระราชหัตถเลขาเป็นภาษาอังกฤษทั้งยาวและสนุก (ซึ่งต่างจาก พระราชหัตถเลขาภาษาไทยตามปรกติ) และ พระบรมฉายาลักษณ์คู่ของพระองค์และสมเด็จพระราชินี
ของกำนัลหลักที่พระราชทานได้แก่ เครื่องยศตามราชประเพณีแต่ทรงเพิ่ม กล่อง ยานัตถุ์ กล้องยานัตถุ์ แท่นขวดหมึก และแหวนซึ่งไม่ใช่ส่วนหนึ่งของเครื่องยศ ตามประเพณี แต่มีคุณค่าในชีวิตประจำวัน ของชาวตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 19
Recent Comments