2ค. งานแสดงสินค้าที่ลุยเซียนา เมืองเซนต์หลุยส์ ค.ศ.1904

 

เครื่องราชบรรณาการแก่สหรัฐอเมริกา

สถาบันสมิธโซเนียน – ห้องนิทรรศการ 2

เรือสำปั้น

ของพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า , ค.ศ.1904

นิทรรศการสยาม ในงานแสดงสินค้าเมืองลุยเซียนา

ยาว 56.3 ซม. กว้าง 17.6 ซม.

USNM # 160314

เสื่อหวาย

ของพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ, ค.ศ.1904

นิทรรศการสยาม ในงานแสดงสินค้าเมืองลุยเซียนา

วัสดุ หวาย

ยาว 188 ซม. กว้าง 86 ซม.

USNM # 160314

โตก

ของพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ, ค.ศ.1904

นิทรรศการสยาม ในงานแสดงสินค้าเมืองลุยเซียนา

วัสดุ ไม้ ลงรัก ปิดทอง

สูง 41 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 18 ซม.

USNM # 234041

ปี ค.ศ.1904 เป็นปีที่ประเทศไทยได้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแล้ว การแสดงในงานครั้งนี้มีขนาดใหญ่กว่าเมื่อครั้งงานแสดงสินค้าฉลองครบรอบร้อยปีของสหรัฐอเมริกาประเทศไทยได้สร้างศาลาจัดแสดงขึ้นมาตามแบบวัดเบญจมบพิตรซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จก่อนงานนี้ไม่นาน

ภายในศาลา ได้จัดแสดงเหรียญตราที่สำคัญ ศาสนวัตถุเครื่องละครไทย และศิลปะชั้นสูง ส่วนงานแสดงการประมงผลิตผลจากป่า ตัวอย่างไม้มีค่า เครื่องมือ และผลิตผลทางเกษตรกรรมได้จัดแสดงในส่วนอื่น

เมื่องานจบลงแล้วได้จัดส่งสิ่งของส่วนใหญ่คืนให้พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติในประเทศไทยซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าให้ย้ายพิพิธภัณฑ์เดิมที่สร้างในรัชสมัยของรัชกาลที่ 4 ภายในบริเวณพระบรมมหาราชวัง ออกมาตั้ง ณ สถานที่ปัจจุบัน คือวังหน้า ตั้งแต่ ค.ศ. 1887 กระทรวงศึกษาธิการได้เข้ามาดูแล และพัฒนาพิพิธภัณฑ์ในปี ค.ศ.1889 อย่างไรก็ดี สิ่งของที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน อาทิ เครื่องจักสานอุปกรณ์จับปลา จำลองเครื่องมือการเกษตร และเครื่องมือโลหะเมื่อเสร็จสิ้นการแสดงก็ได้มอบให้สถาบันสมิธโซเนียนโอทิส เมสัน ภัณฑารักษ์ของแผนกมนุษยวิทยา สถาบันสมิธโซเนียนได้จัดซื้อตะกร้าและเครื่องจักสานเพิ่มเติมอีก 12 ชิ้น ซึ่งในเวลานั้น เมสันผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องจักสานของชาวอเมริกันอินเดียนกำลังวางแผนที่จะศึกษาวัฒนธรรมต่างถิ่นเกี่ยวกับกรรมวิธีทำเครื่องจักสาน แต่ในที่สุดก็ทำไม่สำเร็จเพราะเมสันเสียชีวิตเสียก่อนใน ค.ศ.1908 . 

เมื่อถึง ค.ศ.1910 ความนิยมของงานแสดงสินค้าโลกเริ่มถดถอย อาจเป็นเพราะมีการแยกแยะที่ชัดเจนระหว่างการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์และงานแสดงสินค้า ประเทศไทยจึงไม่เต็มใจที่จะยกสิ่งของต่าง ๆให้ต่างชาติ เพราะสามารถจัดเก็บรักษาและศึกษาได้ด้วยตนเอง

หลังจากปี ค.ศ.1904 จึงไม่มีการมอบสิ่งของจากงานแสดงต่าง ๆแก่สถาบันสมิธโซเนียนอีก แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงทราบว่าเจ้าหน้าที่ของทางสถาบันและนักวิชาการชาวอเมริกันหลายคนได้ให้ความสนใจต่อสิ่งของจากประเทศไทยในการศึกษาวิจัย เรื่องมนุษยวิทยา สืบเนื่องมาจากงานแสดงต่างๆ พระองค์ท่านจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานของกำนัลให้สถาบันสมิธโซเนียนโดยตรง

ห้องนิทรรศการ 2