พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในยุโรป พ.ศ. 2476-77 (ค.ศ. 1934) กับการเมืองสยามหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 | บรรยายโดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พรสรรค์ วัฒนางกูร
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก
ที่มา: หอจดหมายเหตุ กระทรวงการต่างประเทศ กรุงโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก
เหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศสยามหลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เต็มไปด้วยปัญหาที่สะท้อนความขัดแย้งภายในคณะรัฐบาลเอง ระหว่างบุคคลภายในคณะราษฎร รวมไปถึงความขัดแย้งที่ไม่สามารถประนีประนอมได้ระหว่างรัฐบาลของคณะราษฎรและองค์พระมหากษัตริย์ ทั้งยังเป็นช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความจำเป็นและมีพระราชดำริที่จะเสด็จไปรักษาพระเนตรเพื่อรับการผ่าตัดครั้งที่สองที่สหรัฐอเมริกา การกล่าวหา
องค์พระมหากษัตริย์อย่างรุนแรงในประกาศการปฏิวัติของคณะราษฎร การทำรัฐประหารตนเองของ
คณะราษฏร มิถุนายน พ.ศ. 2476 จนกลายเป็นกระบวนการลบหลู่พระเกียรติยศและลดทอนพระราชอำนาจขององค์พระประมุขนำไปสู่ “กรณีบวรเดช” ในเดือนตุลาคมของปีถัดมา พ.ศ. 2476 ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการเตรียมการเสด็จฯ รวมทั้งการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศครั้งนี้
การเสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรป 9 ประเทศ พ.ศ. 2476-77 ทั้งในลักษณะ “กึ่งเป็นทางการ” และเป็น “การส่วนพระองค์”ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรม-ราชินี เป็นช่วง เวลาหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) ไม่นาน ทั้งเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เอเชียและยุโรปต่างได้รับอิทธิพลผลกระทบจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่การค่อยๆ ล่มสลายของการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อิทธิพลของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการแผ่ขยายของอุดมการณ์ใหม่ทางการเมือง นั่นคือ แนวคิดของลัทธิมาร์กซิสม์อันเป็นอุดมการหลักของระบอบสังคมนิยมคอมมูนิสต์และลัทธิฟาสซิสม์
การวิเคราะห์อภิปรายเรื่องการเสด็จประพาสยุโรปของประมุขแห่งสยามทั้งสองพระองค์ พิจารณาจากมุมมองของสยามและยุโรปในบริบททางการเมือง วัฒนธรรม สังคมเศรษฐกิจของสยามและยุโรปในเวทีโลก โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี (ซ้าย) เลขาธิการรัฐ ฮันส์-ไฮน์ริช ลัมเมอร์ส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ (เยอรมนี) และ (ขวา) ไฟร์แฮร์ ฟอน นอยราท ณ สถานีกลางเบอร์ลิน กรุงเบอร์ลิน 2 มิถุนายน ค.ศ. 1934
ที่มา: หอจดหมายเหตุแห่งสหพันธ์ เมืองโคเบลนซ์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Bundesarchiv Koblenz)
[คำว่า สมาพันธ์ สมาพันธรัฐ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า confederation of states ปัจจุบันไม่มีแล้ว (จาก: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ พิมพ์ครั้งที่สอง หน้า ๑๑๗๑) ประเทศเยอรมนีปัจจุบันใช้ชื่อภาษาไทยเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี]
ระหว่างประเทศและการทรงงานด้านการเมืองการปกครอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงประสบความสำเร็จอย่างสูงในการทรงทำหน้าที่เป็น “ทูตสันทวไมตรีกิตติมศักดิ์” ของ “สยามยุคใหม่” ภายใต้การปกครองใหม่ของสยามคือ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ได้รับการยอมรับอย่างท่วมท้นจากนานาประเทศ
About the speaker
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. พรสรรค์ วัฒนางกูร ราชบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา ศาสตราจารย์ (ภาษาและวรรณคดีเยอรมัน) คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายกสมาคมไทย-เยอรมัน ประเทศไทย อาจารย์พรสรรค์มีผลงานวิชาการในสาขาสหวัฒนธรรม วรรณคดีเปรียบเทียบ ภาษาศาสตร์จิตวิทยา รวมทั้งสนใจด้านประวัติศาสตร์ ดนตรี ศิลปะ วัฒนธรรม และการละคร มีหนังสือและผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารกว่า 160 ชิ้น เป็นบรรณาธิการหนังสือและวารสารอีกจำนวนมาก นอกจากนี้ อาจารย์พรสรรค์ยังทำการวิจัยเรื่องพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว การรับพุทธศาสนาในวรรณกรรมโลกด้วย
When
Where
Admission
ไม่มีค่าใช้จ่าย
For more information, please contact
คุณพิณทิพย์ เบอร์ 02 661 6470-3 ต่อ 203
หรืออีเมล pinthip@thesiamsociety.org
สยามสมาคมฯ จำเป็นต้องจำกัดจำนวนผู้เข้าฟังการบรรยายเพียง 50 ท่าน เพื่อเป็นการปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม หากท่านต้องการเข้ารับฟังการบรรยายนี้ กรุณาสำรองที่นั่งล่วงหน้าทางอีเมลหรือโทรศัพท์