การเสวนา Asia Heritage Series EP.2 “กรุงเทพสู้ชีวิต”

การพัฒนาชุมชนเมืองถือเป็นส่วนสาคัญของความเจริญในทวีปเอเชียที่ครอบคลุมประเทศต่าง ๆ ตั้งแต่ในตะวันออกกลางแผ่ขยายไปจนถึงแดนอาทิตย์อุทัย ซึ่งล้วนเปี่ยมไปด้วยความท้าทายจากพลวัตหรือพลังความเปลี่ยนแปลงในหลากหลายมิติที่คู่ขนานมากับกระแสแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารองค์กรในระดับผู้กาหนดนโยบาย ผู้วางแผนงาน รวมถึงภาคธุรกิจต่าง ๆ มักให้ความสาคัญกับพลวัตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ซึ่งบ่อยครั้งจาต้องแลกด้วยปัจจัยแวดล้อมด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นมรดกวัฒนธรรม (heritage) ในพื้นที่ ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนา ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของชุมชน หรือแม้กระทั่งคุณค่าทางสังคม ทว่าพลวัตนิยมกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในเมืองใหญ่ จาเป็นต้องมีเป้าหมายที่ขัดแย้งกันเสมอไปจริงหรือ

ในซีรีส์การเสวนาในหัวข้อเกี่ยวกับ “มรดกวัฒนธรรม” นี้ แผนกพิทักษ์มรดกสยาม สยามสมาคมฯ ร่วมกับ Southeast Asian Cultural Heritage Alliance (SEACHA) และ Asia News Network (ANN) ชี้ให้เห็นปัญหาของกรุงเทพมหานครในฐานะเมืองที่กาลังเผชิญหน้ากับการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ท่ามกลางความพยายามสร้างสมดุลให้แก่มรดกวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าผ่านกลไกทางสังคมและกฎหมาย

The Siamese Heritage Trust, in collaboration with Southeast Asian Cultural Heritage Alliance (SEACHA) and Asia News Network (ANN), discusses the challenges faced by the stakeholders in their attempt to balance urban development with heritage conservation. The forum focuses on Bangkok’s rapid growth, which constantly introduces new dimensions to cultural management.

การเสวนา Asia Heritage Series EP.2 “กรุงเทพสู้ชีวิต”

ในขณะที่กรุงเทพฯ กาลังก้าวสู่ความเป็นเมืองสากลโดยมีเป้าหมายเพื่อผงาดขึ้นเป็น “มหานครแห่งเอเชีย” นั้น กลับพบว่าอัตลักษณ์ดั้งเดิมที่เคยเห็นหรือสัมผัสได้ในครัวเรือนไปจนถึงในหลากหลายชุมชน รวมทั้งประกาย “ความสนุก” กลิ่นอาย บรรยากาศ และวิถีชีวิตแบบไทย ๆ ต่างค่อย ๆ เริ่มเลือนหายไป กลับแทนที่ด้วยภูมิทัศน์ของมหานครที่อาคารสูงระฟ้าผุดขึ้นเบียดเสียดกันมากมาย พร้อมกับความเจริญเติบโตสู่ความเป็นสากลมากขึ้น รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่เพียงเพื่อตอบสนองเป้าประสงค์เชิงธุรกิจของนักลงทุนให้คุ้มค่าสูงสุด

กรณีเช่นนี้จะเรียกว่าเป็นการ “ฆ่าห่านที่ออกไข่เป็นทองคา” (“kill the goose that lays the golden eggs”) หรือเป็นเพียงการปรับตัวไปตามยุคสมัยและสถานการณ์

เราจะสามารถปกป้องมรดกวัฒนธรรมทั้งหลายในกรุงเทพฯ ให้มีที่ทางที่เหมาะสม ควรค่าในตัวเอง พร้อมยืนหยัดได้อย่างสง่างาม และช่วยรักษาอัตลักษณ์ของมหานครแห่งนี้ไว้ได้อย่างไร

In the second episode of Asia Heritage Series, the panellists explore the introduction of Bangkok’s “new” urban landscape and the economy-oriented land management in expense of cultural heritage, particularly the traditional way of life. How do we create harmony between development and heritage conservation?

ผู้ร่วมเสวนา:
1. คุณอุทัย อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จากัด (มหาชน)
“การสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อการอยู่อาศัย”2. คุณเมธิตา ธูปกระแจะ PR Consultant “นิวเจน” ผู้พักอาศัยคอนโด
“คนนิวเจนต้องการอะไรกันแน่”3. ดร. ยุวรัตน์ เหมะศิลปิน สถาปนิกอนุรักษ์
“เราจินตนาการได้หรือไม่”
4. คุณกนิษฐา กสิณอุบล กรรมการผู้จัดการ สยามสมาคมฯ
“ความเจริญกับมรดกวัฒนธรรม: ใครเป็นผู้เลือก และเลือกอย่างไร”
5. ดร. ดิสพล จันศิริ คณบดีคณะศิลปะและการออกแบบดิจิทัล มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
“นวัตกรรมในด้านความมั่งคั่งทางมรดกวัฒนธรรม”
6. คุณเมธัส สถนพงษ์วัชรี นักธุรกิจ “นิวเจน” ผู้พักอาศัยคอนโด
“เลือกโลกรอบ ๆ ตัวเรา”
7. คุณเป็นไท ณ ป้อมเพชร กลุ่มความยั่งยืน DWP Architect
“โครงการเพื่อความยั่งยืนของบริษัทรักษามรดกวัฒนธรรมได้จริงหรือ”
ดาเนินรายการ: คุณพนา จันทรวิโรจน์ บรรณาธิการ Asia News Network

 

 

วันและเวลา

วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม 2566

เวลา 14.30 – 16.15 น.

สถานที่

หอประชุม สยามสมาคมฯ 

ลงทะเบียนล่วงหน้าโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย:

https://bit.ly/3ZbqWPz