คำแต้จิ๋วที่คุ้นเคยในภาษาไทย
ชาวจีนเลียบชายฝั่งทะเลตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ อพยพโยกย้ายถิ่นฐานไปหาที่ทำกินยังต่างแดนเป็นเวลานานแล้ว ชาวจีนอพยพเหล่านั้น มักเป็นชาวจีนที่พูดภาษาถิ่น เช่นฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว กวางตุ้ง ไหหลำและจีนแคะ เป็นต้น และแม้ว่าในระยะแรกจะมีชาวฮกเกี้ยนอพยพเข้ามาในแผ่นดินสยามเป็นจำนวนมาก แต่ในเวลาต่อมา กลับกลายเป็นชาวจีนที่พูดภาษาถิ่นแต้จิ๋ว มีจำนวนมากกว่าภาษาถิ่นอื่นๆ จนเกิดผลกระทบทางการติดต่อสื่อสาร คนจีนแต้จิ๋วรับคำพูดไปจากคนไทยบางส่วน ในขณะที่คนไทยก็รับเอาคำ “แต้จิ๋ว” มาใช้แบบทับศัพท์ ตั้งแต่เรื่องการค้าขาย ข้าวของเครื่องใช้ พืชผัก อาหารและเครื่องดื่ม ฯลฯ
การผ่องถ่ายวัฒนธรรมภาษาซึ่งกันและกัน เป็นแบบเลียนเสียงภาษาพูด ดังนั้น คนจีนที่เลียนเสียงภาษาไทย ย่อมไม่ชัดถ้อยชัดคำเป็นธรรมดา ในเวลาเดียวกัน คนไทยที่เลียนเสียงภาษาแต้จิ๋ว แม้กระทั่งการสะกดออกเสียงด้วยภาษาไทย ก็ย่อมไม่ตรงกับเสียงดั้งเดิมของชาวแต้จิ๋ว เช่น กุ๊ย ง่วน เจ๊ง เจี๋ยน ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง ก๋วยเตี๋ยว ปุ้งกี๋ เก้าอี้ เจ้าสัว หลงจู๊ โพยก๊วน โต้โผ ฯลฯ คำที่คนไทยคุ้นหูเหล่านี้ ส่วนใหญ่สามารถค้นหาได้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อีกทั้ง มีนักเขียนและอาจารย์ที่รู้ภาษาจีน เคยเขียนคำอธิบายถึงที่มาที่ไปมาบ้างแล้ว แต่เป็นที่น่าเสียดาย ที่คำอธิบายซึ่งเคยพบเห็นมา มักมีข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อน เพราะผู้เขียนใช้การสืบค้นอ้างอิงด้วยภาษาจีนกลางเป็นหลัก โดยเข้าไม่ถึงวัฒนธรรมแต้จิ๋ว
ผู้บรรยายจะพาผู้ฟังไปพบข้อมูลและหลักฐานที่จับต้องได้ ในการเข้าถึงความหมายที่แท้จริงของ “คำแต้จิ๋วที่คุ้นเคยในภาษาไทย” ชนิดที่ผู้ฟังไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน
About the speaker
นิรันดร นาคสุริยันต์ คนไทยเชื้อสายแต้จิ๋วที่มีโอกาสพูดและเรียนภาษาจีนมาตั้งแต่เด็ก และแม้ว่าช่วงหนึ่ง จะทอดทิ้งการเรียนภาษาจีนไปนาน เนื่องจากประเทศไทยปิดกั้นการเรียนการสอนภาษาจีน ช่วงประมาณ พ.ศ. 2510-2540 แต่นิรันดรก็ยังใช้ภาษาจีนเป็นภาษาพูดมาตลอด จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2541 นิรันดรมีโอกาสกลับมาฟื้นฟูภาษาจีน โดยเรียนที่โรงเรียนในสังกัดของสมาคมจงหัว 中華會館 อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 9 ปี จนจบชั้นสูงสุดของสถาบัน หลังจากนั้น ยังได้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ หลักสูตรภาษาจีน จนจบปริญญาโท สาขาวรรณกรรมจีนสมัยใหม่และร่วมสมัย (Modern and Contemporary Chinese Literature) จากนั้น ได้ทำงานเขียนและงานบรรยายในด้านประวัติศาสตร์จีน ภาษาและวัฒนธรรมจีนมาตลอด โดยเฉพาะภาษาแต้จิ๋ว ซึ่งมีคนสนใจมาก แต่มีคนศึกษาทางด้านนี้จำนวนน้อย ปัจจุบัน นิรันดรเป็นผู้บรรยายรับเชิญเกี่ยวกับภาษาแต้จิ๋วของสมาคมเตี้ยอันในประเทศไทย
When
Where
Admission
ไม่มีค่าใช้จ่าย
For more information, please contact
คุณพิณทิพย์เบอร์ 02 661 6470-3 ต่อ 203 หรืออีเมล pinthip@thesiamsociety.org
More upcoming lectures
-
In Bangkok: Siam’s Capital through Foreign Eyes, 1895-1935LecturesThursday, 30 January 2025 at 19:00
-
Rendered Invisible: Pom Mahakan, Bangkok, and Cultural RightsLecturesThursday, 6 February 2025 at 19:00
-
-
Tracing Pali and Thai Manuscripts from Japan to Ireland: Collections, Collectors, and ConnectionsLecturesFriday, 14 February 2025 at 10:00
-
War Slaves and Cultural Transformations: How Ayutthaya’s Captured Artisans and Performers Transformed Burmese SocietyLecturesThursday, 20 February 2025 at 19:00
-
Serving the Kingdom and Fandom: The Reinvention and Hybridisation of the Ramakien in Thai Internet LiteratureLecturesThursday, 27 February 2025 at 19:00
-
Bombs, Baccy and Buddhism: The First World War Diary of Sergeant Kleuap KaysornLecturesThursday, 6 March 2025 at 19:00
-
Capitalist Colonial: Thai Migrant Workers in Israeli AgricultureLecturesThursday, 13 March 2025 at 19:00