3ก. ของกำนัลแก่สถาบันสมิธโซเนียน

 

เครื่องราชบรรณาการแก่สหรัฐอเมริกา

สถาบันสมิธโซเนียน – ห้องนิทรรศการ 3

พระไตรปิฎก ฉบับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ , ค.ศ.1893

ของพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ

ห้องสมุดหนังสือหายากเมืองดิบเนอร์ Dibner Rare Book Library

เลขเรียกหนังสือ : PK4546.A1-1893 RB SI

แบบจำลองพระปรางค์วัดอรุณ

ของขวัญของแผ่นดิน , ค.ศ.1966

วัสดุ ปูนปลาสเตอร์ เขียนสี

สูง 91.5 ซม. กว้าง 91.5 ซม. และ ยาว 91.5 ซม.

USNM # 158471

แบบจำลองตู้พระไตรปิฏก จากวัดระฆังโฆษิตาราม, ธนบุรี

ของขวัญของแผ่นดิน , ค.ศ.1966

ในโอกาสครอบรอบ 200 ปี ชาตกาลของนายเจมส์ สมิธสัน
ผู้ก่อตั้งสถาบันสมิธโซเนียน ว

วัสดุ ไม้ ลงรักปิดทอง ลายรดน้ำ

สูง 169.5 ซม. กว้าง 97 ซม. หนา 676.5 ซม.

USNM # 404341

ภาพประดับบานประตูตู้พระธรรมทั้งสอง ต้องอ่านโดยทวนเข็มนาฬิกา เริ่มจากภาพด้านล่างซ้ายขึ้นไป เป็นเรื่องราวพุทธประวัติ 2 ช่วง สองภาพด้านล่าง แสดงชีวประวัติของเจ้าชายสิทธัตถะก่อนผนวช และสองภาพบนแสดงการบำเพ็ญเพียรเพื่อแสวงหาหนทางตรัสรู้

ภาพล่างซ้าย

พระนางสิริมหามายา ยืนใช้มือขวาเกาะกิ่งสาละ ขณะให้ประสูติกาลเจ้าชายสิทธัตถะ มีนางกำนัลสองนางคุกเข่ารอรับอยู่ด้านหน้า เบื้องบนด้านซ้ายเหนือพระนางคือพระอินทร์ และเบื้องบนด้านขวาบนคือพระพรหมเสด็จมาต้อนรับ

ภาพล่างขวา

การเสียสละอันยิ่งใหญ่: เจ้าชายสิทธัตถะทรงละเพศผู้ครองเรือน ออกไปเป็นสมณะ ในขณะที่พระฉายา พระโอรส นางกำนัล และเหล่านักดนตรีกำลังหลับไหล

ภาพบนขวา

การเดินทางอันยิ่งใหญ่ : นายฉันนะควบม้ากัณฐกะ พาเจ้าชายสิทธัตถะข้ามแม่น้ำอโนมา ระหว่างทางมีมารออกมาขวางไว้

ภาพบนซ้าย

เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวช: ทรงตัดพระเมาลีของพระองค์เอง แล้วอธิษฐานจิตครองเพศสมณะเพื่อแสวงหาหนทางแห่งความรู้แจ้งนับจากนี้ไป เหล่าเทพยดา ได้แก่ พระอินทร์และพระพรหม ได้มาเป็นสักขีพยาน ถวายบาตรพระ และผ้ากาสาวพัสตร์แด่พระสมณโคดม นายฉันนะและม้ากัณฐกะ ผู้นำพาพระองค์เสด็จข้ามแม่น้ำอโนมา หมอบอยู่แทบเท้า

พระมาลัยสูตร

ของขวัญของแผ่นดิน , ค.ศ.1966

ในโอกาสครอบรอบ 200 ปี ชาตกาลของนายเจมส์ สมิธสัน
ผู้ก่อตั้งสถาบันสมิธโซเนียน

วัสดุ สมุดข่อย เขียนสี

ยาว 66 ซม. กว้าง 14 ซม.

USNM# 404342

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเริ่มพระราชทานของกำนัลสู่สถาบันสมิธโซเนียนตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1880 ในปี ค.ศ.1881 หลังจากที่ประเทศไทย และสหรัฐ อเมริกาได้เจรจาแก้ไขสนธิสัญญาแฮริส ค.ศ.1857 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ มีพระประสงค์ที่จะพระราชทานของกำนัลอีก แต่เมื่อทรงทราบว่าเครื่องราชบรรณาการที่เคยพระราชทานแก่ประธานาธิบดีมาโดยตลอดนั้นได้เก็บรักษาไว้ ณ สถาบันสมิธโซเนียน จึงทรงมีพระราชดำริที่จะพระราชทานของกำนัลไปให้สถาบันฯ โดยตรง

เป็นที่น่าสนใจว่า สิ่งของที่พระราชทานไปนั้นเป็นของประเภทเดียวกับเครื่องราชบรรณาการที่เคยพระราชทานในรัชสมัยก่อนๆ อาทิ รงสำหรับรักษาโรคปวดข้อ และโรคผิวหนังรงทองซึ่งในเมืองไทยใช้เขียนสีทอง สีเสียดเทศ สมุนไพรชนิดหนึ่งใช้ประกอบการกินหมากพลูกระวานซึ่งเป็นทั้งเครื่องเทศ และสมุนไพรรักษาโรค ยาง ขมิ้น เม็ดสำโรงเม็ดแมงลัก เม็ดบัว ยาสมุนไพร และข้าวอาจเป็นไปได้ว่าวัตถุประสงค์ในการพระราชทานสิ่งของเหล่านี้เพื่อแนะนำและส่งเสริมสินค้าส่งออกของประเทศ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบผ่านจอห์น ฮัลเดอร์แมน เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยว่า ภัณฑารักษ์มีความสนใจเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันเป็นพิเศษ จึงได้พระราชทานสิ่งของนอกเหนือจากที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น อันได้แก่ อุปกรณ์จับปลา ซึ่งอาจเป็นของสะสมส่วนพระองค์ และธงชาติ ถึงแม้จะมีพระราชหัตถเลขาเฉลิมฉลองการลงนามในการแก้ไขสนธิสัญญาแฮริส แต่ในพระราชหัตถเลขาก็มิได้กล่าวถึงของกำนัลใด ๆทั้งสิ้น เพียงแต่พระราชทานเมื่อเสร็จสิ้นการลงนามโดยที่เปลี่ยนตัวผู้รับ และรายการสิ่งของกำนัลเนื่องในพระราชวโรกาสรัชดาภิเษก ในปี ค.ศ.1893 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยฉบับแรกเป็นของกำนัลแก่พันธมิตรทั่วโลก ซึ่งในอดีตเคยมีแต่พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีได้จัดส่งพระไตรปิฎกฉบับพระราชทานเหล่านี้ตรงไปยังสถานศึกษาต่าง ๆโดยผ่านสถานทูตไทยในกรุงลอนดอน (ประเทศไทยยังไม่ได้เปิดสถานทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน จน ค.ศ.1901) สำหรับสหรัฐอเมริกาได้ส่งพระไตรปิฎกฉบับพระราชทานเหล่านี้ ไปให้สถาบันสมิธโซเนียนมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด คอร์แนลและอื่น ๆ อีกหลายแห่ง

ห้องนิทรรศการ 3