Between the Two Oceans of Indo-Pacific: Strengthening the Myanmar-Thailand Southern Corridor
เมื่อกล่าวถึงวลี “ดินแดนที่อยู่ระหว่างกลาง” อาจทำให้ผู้ที่ได้ฟังรู้สึกไม่ดีอยู่บ้าง เพราะวลีนี้สื่อถึงสถานที่ที่จำต้องเดินทางผ่านเพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทางที่ตั้งใจไว้ ซึ่งวลีนี้สามารถใช้อธิบายสถานการณ์ของดินแดนระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกที่ผ่านมานานนับพันปี ได้แก่ ประเทศพม่า ประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา ประเทศเวียดนาม และ ประเทศมาเลเชีย ซึ่งแม้ประเทศเหล่านี้จะได้พบเห็นพัฒนาการการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสองอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่อย่างจีนและอินเดีย แต่ประเทศเหล่านี้ก็ยังสามารถดำรงเอกลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมเอาไว้ได้ จนกลายมาเป็นกลุ่มประเทศอาเซียนในปัจจุบัน
หนังสือ “Between the Two Oceans of Indo-Pacific: Strengthening the Myanmar-Thailand Southern Corridor” มีที่มาและได้รับการสนับสนุนจากศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจะเน้นย้ำประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเขตแดนของประเทศไทยและประเทศพม่า และวิเคราะห์ประวัติศาสตร์โบราณและประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของทั้งสองประเทศ รวมทั้งสำรวจสถานการณ์ปัจจุบันของภูมิภาคบริเวณคาบสมุทรนี้ เพื่อศึกษาว่าภูมิภาคนี้มีปฏิกิริยาต่อแนวโน้มการค้าและการลงทุนของโลก และต่อการขยายอิทธิพลทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไร หนังสือเล่มนี้ยังได้คาดการณ์บทบาทของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ ผ่านมุมมองของคนในพื้นที่ที่มีต่อประเด็นระดับโลกที่มีผลกระทบต่อภูมิภาคนี้ โดยนักเขียนที่มาจากประเทศอินเดีย พม่า และไทย
This lecture in Thai will be about a book, initiated and supported by the ASEAN Studies Center of Chulalongkorn University, that focuses on a particular part of this in-between land which is the part between Thailand and Myanmar, and examines the history, ancient and contemporary, and explores the present condition of the trans-peninsular region to see how it has responded to the wider global trends of trade and investment, geopolitical and power play.
About the speaker
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จาริต ติงศภัทิย์ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.จาริตเคยสอนที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเคยดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม และสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.จาริตมีความสนใจด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม รวมถึงการค้นคว้าวิจัยทางสังคมและทางสภาพแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ และ การบริหารสิ่งแวดล้อมเมือง
ศาสตราจารย์ ดร.สุทธิพันธ์ จิราธิวัฒน์ เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณของศูนย์อาเซียนศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนหน้านี้ดร.สุทธิพันธ์เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม ดร.สุทธิพันธ์มีความสนใจในประเด็นเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ การเงิน การลงทุน ความร่วมมือพัฒนาและบูรณาการเศรษฐกิจแห่งภูมิภาค และในประเด็นของเอเชียที่เกี่ยวข้องกับสังคมและเศรษฐกิจในระดับโลก และสังคม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สินีนาฏ เสริมชีพ เป็นผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนหน้านี้ ดร.สินีนาฏเคยดำรงตำแหน่งรองคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.สินีนาฏมีความสนใจในประเด็นเกี่ยวกับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ เศรษฐกิจดิจิทัล การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และในประเด็นด้านเศรษฐกิจและสังคมในอาเซียนและในระดับโลก
Professor David Boggett is Professor Emeritus of Kyoto Seika University in Japan and led many field trips for Japanese students to the sites of the Thai-Burma (Death) Railway. He contributed an article on the development projects undertaken by the Japanese military in the Thai-Burma borderlands to this volume, He now lives in retirement in Chiangrai Province.
When
Where
Admission
ไม่มีค่าใช้จ่าย
For more information, please contact
คุณพิณทิพย์เบอร์ 02 661 6470-3 ต่อ 203 หรืออีเมล pinthip@thesiamsociety.org
More upcoming lectures
-
-
Praetorian Kingdom: A History of Military Ascendancy in ThailandLecturesThursday, 23 January 2025 at 19:00