เลือกหน้า

Back to news

3 July 2024

The Siam Society’s Study Trip: ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในศิลปะคันธาระ

ในเดือนเมษายน 2567 ที่ผ่านมา คณะสยามสมาคมฯ ได้เดินทางไปยังเมืองศูนย์กลางของอารยธรรมคันธาระ คือเมืองเปศวาร์และตักศิลา แคว้นคันธาระเป็นจุดหลอมรวมของวัฒนธรรมที่หลากหลาย เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ตามแนวเส้นทางสายไหมโบราณ อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังเอเชียกลางและเอเชียตะวันออก นอกจากนี้สันนิษฐานว่าพระพุทธรูปชุดแรกของโลกมีการสร้างขึ้นในบริเวณของแคว้นคันธาระอีกด้วย

During the Siam Society’s trip to Pakistan in April 2024, we got to visit Peshawar and Taxila which were the core of the region of the Gandhara Civilisation. Because of its advantageous location along the ancient Silk Road, Gandhara was a melting pot of various civilisations and a central location for the spread of Buddhism to Central Asia and East Asia. It is also widely believed the first set of human images of the Buddha is associated with the Gandhara region.

ศาสนสถานตัก-ไบ หนึ่งในหนึ่งในพุทธศาสนสถานที่สำคัญที่สุดในแถบคันธาระ

Takht-i-Bahi Buddhist Monastery, one of the Gandhara region’s most prominent Buddhist rui

หลังจากภูมิภาคนี้ตกไปอยู่ใต้การปกครองของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และผู้ปกครองชื้อสายอินโด-กรีกต่อจากพระองค์ อิทธิพลของอารยธรรมกรีกได้เข้ามามีส่วนสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการศิลปะแบบคันธาระในอีกเจ็ดศตวรรษต่อมา

Alexander the Great and the Indo-Greek rulers who succeeded him brought classical traditions with them, which over the next seven centuries played a significant role in shaping Gandhara’s artistic style.

ศิลปะคันธาระในพิพิธภัณฑ์เปศวาร์

Gandhara’s Buddhist artwork in the Peshawar Museum

พุทธศิลป์ของอินเดียในยุคแรกเริ่ม จะไม่สร้างงานศิลปะแทนพระพุทธเจ้าให้ออกมาในรูปของมนุษย์ แต่จะออกมาในรูปแบบงานที่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของพระองค์ เช่นรอยพระพุทธบาท เก้าอี้ที่ว่างเปล่า หรือพื้นที่ว่างใต้พระกลด

There were no human representations of the Buddha in early Indian Buddhist art. Rather, there was an indication to suggest his presence, such as a set of footprints, an empty seat, or an empty space under a parasol.

ประติมากรรมปูนปั้นตกแต่งสถูปที่พุทธศาสนาสถานจูเลียนในตักศิลา

A votive stupa at Jaulian Buddhist Monastery located in Taxila

สาเหตุที่พระพุทธรูปยุคแรกเริ่มในศิลปะคันธาระมีพระพักตร์แบบชาวตะวันตก และห่มจีวรที่มีล้ายริ้วผ้าชัดเจนคล้ายการห่มผ้าของชาวโรมัน มีที่มาจากพุทธศิลป์ที่ผสมผสานระหว่างอิทธพลของอารยธรรมยุคเฮลเลนิสติก และศิลปะดั้งเดิมของอินเดีย

The reason why the earliest Buddha images in Gandhara art had Western-style faces and were covered with robes that were similar to a Roman toga is because of the Gandhara style of  Buddhist art that combines the influence of Hellenistic and local Indian art.

พระเศียรของพระโพธิสัตว์ในพิพิธภัณฑ์เปศวาร์

Bodhisattva head in the Peshawar Museum

ลักษณะเด่นของพระพุทธรูปแบบคันธาระคือจะมีพระพักตร์อ่อนเยาว์คล้ายเทพอพอลโลของกรีก มีพระเกศาหยิกสลวย และมีรัศมีอยู่หลังพระเศียร

Buddha images in the style of Gandhara art are usually portrayed in the style of the Greek god Apollo, having a youthful face, wavy curls, and a halo.

พระโพธิสัตว์เมตไตรยะแบบศิลปะคันธาระ ที่พิพิธภัณฑ์ลาฮอร์

Standing Bodhisattva Maitreya in Gandhara Buddhist art at Lahore Museum

ยังมีรูปเคารพของพระโพธิสัตว์เมตไตรยะ ในฐานะพระพุทธเจ้าในอนาคต มักสร้างในลักษณะของเจ้าชายที่ทรงเครื่องประดับมากมาย ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

The Buddha of the Future, Maitreya, is also depicted as a princely bodhisattva before enlightenment with fine robes and jewels


การศึกษาสัญจรเป็นกิจกรรมหลักของสยามสมาคมฯ จัดขึ้นภายใต้พันธกิจในการส่งเสริมความรู้ด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และธรรมชาติวิทยาของประเทศไทยและของประเทศเพื่อนบ้าน

Study trips are a core activity of The Siam Society, in line with its mission to promote knowledge of the culture, history, arts and natural sciences of Thailand as well as those of its neighbouring countries.