เลือกหน้า

สมาคมมรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEACHA)

สมาคมมรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Cultural Heritage Alliance - SEACHA)

“ความร่วมมืออันมุ่งมั่นระหว่างหน่วยงานรัฐ ประชาชน และภาคธุรกิจ ในการพิทักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ”

ความเป็นมาของ SEACHA

ในปี พ.ศ. 2562 สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ฯได้จัดการสัมมนาระดับภูมิภาค ภายใต้หัวข้อ “การคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชีย” ภายใต้บริบทสังคมวัฒนธรรมและการเมืองของเอเชีย โดยมีวิทยากรจากหลายประเทศในเอเชีย อาทิเช่น นักวิชาการ นักปฏิบัติการ องค์กรภาคประชาสังคม ผลลัพธ์จากการสัมมนาในครั้งนี้สะท้อนภาพที่ชัดเจนว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีองค์ความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่าอยู่มากมาย ด้วยเหตุนี้ สยามสมาคมฯ และองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน จึงได้มีมติในการจัดตั้งเครือข่ายพันธมิตรเพื่อพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมในเอเชีย โดยใช้องค์ความรู้จากภูมิปัญญาดั้งเดิมของแต่ละท้องถิ่น รวมถึงโครงการต่างๆเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาค

จากแนวคิดดังกล่าว สมาคมมรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ SEACHA จึงถือกำเนิดขึ้นในเวลาต่อมา

รายนามสมาชิกก่อตั้ง SEACHA

SEACHA เป็นเครือข่ายดิจิทัลขององค์กรภาคประชาสังคมในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม

องค์กรที่ร่วมก่อตั้ง SEACHA ประกอบด้วย:

อินโดนีเซีย: The Indonesian Heritage Trust
สปป.ลาว: Mulberries and Phontong-Camacrafts Handicrafts Cooperative
มาเลเซีย: The Penang Heritage Trust
เมียนมาร์: The Yangon Heritage Trust
ฟิลิปปินส์: The Philippines Heritage Conservation Society
สิงคโปร์: The Singapore Heritage Society
ไทย: สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์
เวียดนาม: The Center of Research and Promotion of Cultural Heritage of Vietnam

(ยังมีองค์กรภาคประชาสังคมอาเซียนอื่น ๆ ที่คาดว่าจะเข้าร่วมเป็นสมาชิก)

ภารกิจ

SEACHA มีเป้าหมายการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและชุมชนในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคประชาคมสังคมและวัฒนธรรมในฐานะเสาหลักที่สามของอาเซียน อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นเวทีสำหรับเครือข่ายระหว่างองค์กรต่างๆที่เป็นสมาชิกอาเซียนอีกด้วย

บทบาทของ SEACHA

SEACHA มุ่งเน้นการเชื่อมต่อรัฐบาล ชุมชน และภาคธุรกิจ เพื่อให้เกิดความมุ่งมั่นร่วมกันในการ พัฒนานโยบายในการพิทักษ์มรดกทางวัฒนธรรม และเพื่อปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียนให้กับคนรุ่นหลัง ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการพัฒนากฎหมายข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับมรดกวัฒนธรรม ธรรมภิบาลในการดูแลมรดกวัฒนธรรม การศึกษาให้ความรู้ หน่วยงานภาคประชาสังคม และการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในเรื่องดังกล่าว ด้วยบริบทของการทำงานในระดับภูมิภาค จะช่วยให้การเรียนรู้และพัฒนาร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดความร่วมมือและโครงการที่ก้าวข้ามไปสู่ระดับภูมิภาคมากยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้ SEACHA จึงมุ่งมั่นที่จะเป็น:

  • เวทีสำหรับการพูดคุยแลกเปลี่ยนในหมู่ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับมรดกวัฒนธรรมอาเซียน ภาคประชาสังคมชุมชน รวมถึงสาธารณะชนที่สนใจ เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมในฐานะองค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาระดับชาติและระดับภูมิภาคอย่างยั่งยืน
  • คลังความคิดและศูนย์รวมทรัพยากร เพื่อสนับสนุนทั้งในเชิงนโยบายและแก่ผู้มีอำนาจตัดสินใจของอาเซียนในด้านมรดกวัฒนธรรม ผ่านการวิเคราะห์ ปรึกษาหารือ ฝึกอบรม จัดการสัมมนาและการประชุม ในการเน้นย้ำต่อรัฐบาลและต่อสาธารณะทั่วไปเกี่ยวกับประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง เสมือนทำหน้าที่เป็น "แรงผลักดัน" อีกส่วนหนึ่งโดยขับเคลื่อนจากสำนึกรับผิดชอบจากภายในอาเซียน หากแต่เป็นอิสระจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นทางการ ของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือภาคส่วนธุรกิจใดๆ ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างประโยชน์ของมรดกทางวัฒนธรรมและเป้าหมายของประชาชน ธุรกิจ และรัฐบาล
  • ผู้ขับเคลื่อนจากภาคท้องถิ่นด้วยสำนึกรับผิดชอบ “เพื่อผลักดันให้เกิดโครงการการจัดการมรดกวัฒนธรรมต่างๆในอาเซียน เพื่อให้มรดกทางวัฒนธรรมเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียน” และ “เพื่อพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ในการปกป้องแหล่งมรดกจากการทำลาย การค้า และการเปลี่ยนแปลงของเมือง ทั้งนี้เพื่อต่อคณะมนตรีอาเซียน ตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ในปฏิญญาเวียงจันทน์ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านมรดกวัฒนธรรมในอาเซียน (พ.ศ. 2559)

 

กิจกรรมของเรา:

กิจกรรมสนทนารายเดือน "Cha-Time with SEACHA"

กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหาการบริหารจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสมาชิกของ SEACHA จะร่วมเสนอชื่อวิทยากรจากประเทศของตนเพื่อกำหนดหัวข้อการสนทนา ในแต่ละตอนจะมี 10 เรื่องราวจาก 10 ประเทศในเอเชีย ผู้สนใจสามารถรับชมคลิปวีดีโอกิจกรรม “Cha-Time with SEACHA” ได้ที่ SEACHA YouTube Channel. 

คลินิกจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

กิจกรรมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการมรดกทางวัฒนธรรม แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน นักการศึกษา สมาชิกชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการออกแบบและดำเนินการตามแผนจริงโดยมีวัตถุประสงค์สองประการคือการอนุรักษ์มรดกและการพัฒนาเศรษฐกิจ

ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SEACHA ได้ที่ www.seacha.org

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

คุณจารุณี คงสวัสดิ์
โทรศัพท์: +66 2 661 6470 ต่อ 301
โทรสาร +66 2 258 3491
อีเมล jarunee@thesiamsociety.org