เลือกหน้า

A Panel Discussion on Kuang Luang Wiang Kaew Development Project: The Way Forward

To view the full announcement, please click here.

วารสาร Kuang Luang Wiang Kaew Project was initiated by Chiang Mai Provincial Office, with an aim to transform the area around a former women’s prison for public use. Back in 2014, the Provincial Office held a project contest to determine how the area should be used. Among the participants, the winning team came up with the concept, ‘Revealing the Land to the Wiang Kaew City.’ It was a concept to build a historic public park that can be utilised by everyone, while preserving and showcasing its historical value. The excavation result from the Fine Arts Department indicates that the area used to be a part of the Lanna King’s Palace before becoming a prison.

As this project involves both development and preservation, many questions arose as to what is worth preserving. There were many different ideas and debates along the way, which led to an ongoing effort by various stakeholders to develop the proper solution based on various approaches to the project, while retaining its significant historical values. This seminar aims to set an open stage for the sharing of  experience, knowledge, and way of working in bringing the project out to the general public, to exhibit the latest project design, and to discuss and exchange the ways forward.

The panel discussion will be conducted in Thai.

สำหรับกำหนดการฉบับเต็ม กรุณาคลิ๊กที่นี่

เสวนา เรื่อง “การขยับ ปรับ และไปต่อ ของโครงการพัฒนาข่วงหลวงเวียงแก้ว”
โครงการพัฒนาข่วงหลวงเวียงแก้วเป็นโครงการของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งประสงค์จะพัฒนาพื้นที่บริเวณทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่เดิม ซึ่งตั้งอยู่บนถนนราชวิถี ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นพื้นที่ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน อย่างสอดคล้องกับคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของพื้นที่

เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้เปิดโอกาสการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ให้ร่วมกันกำหนดอนาคตของพื้นที่แห่งนี้ว่าควรถูกใช้งานต่อไปอย่างไร และจัดให้มีการประกวดแบบโครงการในปี พ.ศ. 2557 มีผู้ส่งแบบเข้าประกวดถึง 15 ทีม ทีมที่ชนะใจชาวเชียงใหม่ ออกแบบด้วยแนวคิด ‘เผยแผ่นดินสู่ถิ่นเวียงแก้ว’ เมื่อกรมศิลปากรได้เข้ามาทำหน้าที่ขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่ ทำให้ได้พบหลักฐานยุคเวียงแก้วมากมายที่แสดงให้เห็นว่าพื้นที่แห่งนี้เคยถูกใช้งานเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่วังหลวงของกษัตริย์ล้านนา ก่อนที่จะกลายมาเป็น
เรือนจำมณฑลพายัพช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาจึงถูกใช้งานเป็นเรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่ถึง พ.ศ. 2544 และเปลี่ยนเป็นทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2555 จึงได้ย้ายออกไป

ความน่าสนใจของโครงการนี้ไม่ได้มีเพียงแต่ความรู้ใหม่ที่ค้นพบด้านโบราณคดีเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของการพัฒนาพื้นที่ที่มีคุณค่าทับซ้อนหลายยุคสมัยด้วย มีคำถามมากมายเกิดขึ้นตลอดเส้นทางของการทำงานว่า สิ่งใดที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้บ้าง บางเรื่องราวอาจมีมิติใหม่ให้มองเห็นและเปิดใจที่จะจดจำ การทำงานอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ ย่อมมีความแตกต่างทางแนวคิด มีการต่อรอง มีการประนีประนอม เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาระหว่างทุกภาคส่วนที่ร่วมในโครงการ สุดท้ายแล้ว  คำถามท้าทายสำหรับทุกคนก็คือ  จะพัฒนาพื้นที่นี้อย่างไร เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่นี้ได้ในวิถีชีวิตปัจจุบัน  โดยยังคงไว้ซึ่งคุณค่าทางประวัติศาสตร์และ
โบราณคดีอันหลากหลายมิติ

สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ในฐานะที่ปรึกษาคณะทำงานปรับปรุงแบบก่อสร้างโครงการข่วงหลวงเวียงแก้ว ได้มอบหมายให้แผนกพิทักษ์มรดกสยามจัดงานเสวนาครั้งนี้ขึ้น เพื่อให้มีการนำเสนอเรื่องราวประสบการณ์ ความรู้ และวิถีการทำงานของโครงการนี้สู่สาธารณะมีการนำเสนอแบบโครงการที่ปรับปรุงล่าสุด และพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับก้าวต่อไปของโครงการนี้ในอนาคต ทั้งนี้สยามสมาคมฯ โดยแผนกพิทักษ์มรดกสยาม หวังว่าการเสวนาจะช่วยกระตุ้นความสนใจติดตามของสาธารณชนและเป็นแรงบันดาลใจสำหรับโครงการอื่นๆต่อไป

When

Saturday, 27 November 2021 at 13:30 (Bangkok time)

Where

Online (Zoom)

Admission

Free of charge

Registration

Please register at https://bit.ly/wiangkeaw