เลือกหน้า

Back to news

28 February 2024

The Siam Society’s Study Trip: จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดโพธิ์ปฐมาวาส จังหวัดสงขลา

เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา สยามสมาคมฯ ได้จัดการศึกษาสัญจรไปยังจังหวัดพัทลุงและสงขลา เราได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมวัดโพธิ์ปฐมาวาสในอำเภอเมืองสงขลา ซึ่งภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถของวัดแห่งนี้มีความน่าสนใจอย่างมาก วันนี้เราเลยถือโอกาสพาทุกท่านมาเรียนรู้จากภาพจิตรกรรมฝาผนังเหล่านี้กันค่ะ

During our weekend trip to Phatthalung and Songkhla Provinces in January 2024, we had a chance to visit Wat Pho Pathumma Wat Temple (วัดโพธิ์ปฐมาวาส) in Songkhla. One of the most interesting things about this temple is the mural paintings in the ordination hall. Let’s take a closer look and learn more about these fascinating paintings!

วัดโพธิ์ปฐมาวาสได้รับการสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ช่วงประมาณปี พ.ศ. ๒๒๐๐ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้สร้างเป็นใคร ต่อมาได้รับการบูรณปฎิสังขรณ์โดยเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์) ผู้สำเร็จราชการสงขลาในยุคสมัยรอยต่อระหว่างปลายรัชกาลที่ ๓ และต้นรัชกาลที่ ๔

This temple was assumed to have been built during the Ayutthaya period during the reign of King Narai the Great around 1657. However, there were no records of the person responsible for the building of the temple.  Later Wat Pho Pathumma Wat was restored by Phraya Wichiankhiri (Boonsung), the governor of Songkhla during the transition period between the end of King Rama III’s reign and the beginning of King Rama IV’s reign.

ภายในอุโบสถรายล้อมด้วยจิตรกรรมฝาผนังปริศนาธรรมที่เล่าเรื่องราวและวิถีความเป็นอยู่ของชาวสงขลาตั้งแต่สมัยโบราณ ภาพวาดเหล่านี้มีความวิจิตรงดงามมาก อีกทั้งยังอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์

The walls of the ordination hall are adorned with beautiful dharma-puzzle murals that depict the stories and lives of the people of Songkhla since ancient times. These stunning paintings are in relatively good condition.

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมในพระอุโบสถที่น่าสนใจคือการสร้างเสาหลอกเป็นลำไผ่ครึ่งซีกนูนแทรกอยู่ตรงกลางผนัง เรียงรายอยู่ตามผนังด้านซ้ายและขวาของพระประธาน มีการเขียนภาพบนเสาให้เป็นลำไผ่ครึ่งซีกจนดูเหมือนมีต้นไผ่ขึ้นอยู่ในอุโบสถตามกำแพงเป็นระยะๆ สิ่งนี้เป็นลักษณะเด่นของจิตรกรรมซึ่งไม่อาจพบเห็นได้ที่วัดอื่น

Another interesting architectural feature in the ordination hall is the pseudo-columns built in the shape of a half-bamboo trunk, inserted in the middle of each wall on both sides of the Buddha image. This is a distinctive feature that cannot be seen at other temples.

แม้ว่าวัดแห่งนี้จะเป็นวัดในพุทธศาสนา แต่บนบานแผละของอุโบสถกลับมีภาพเขียนของขบวนแห่เจ้าเซ็นในนิกายชีอะฮ์ประดับอยู่ พิธีเจ้าเซ็นเป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการเสียชีวิตของอิหม่ามฮุเซ็น และเป็นพิธีกรรมเฉพาะของชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ ซึ่งสันนิษฐานว่าริเริ่มมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จิตรกรรมภาพนี้สะท้อนถึงอิทธิพลของนิกายชีอะฮ์ในประเทศไทยที่ประชากรชาวมุสลิมส่วนใหญ่นับถือนิกายซุนนี

Despite being a Buddhist temple, there is a mural painting on the wall near the front door that depicts the Ashura procession which commemorates the martyrdom of Imam Hussein. It is a ceremony performed by ‘Chao Sen’ Shia sect Muslims and is believed to have been started since the Ayutthaya Kingdom. This mural reflects the influence of the Shia sect in Thailand where the majority of Thai Muslims are Sunni Muslims.

ภาพวาดอีกภาพที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือภาพของกลุ่มคนหลายเชื้อชาติ สังเกตได้จากสีผิว ลักษณะทรงผม การไว้หนวดเครา และการแต่งกายที่แตกต่างกัน ภาพนี้ได้รับการตีความไว้ ๒ แบบ คืออาจเป็นภาพเรื่องราวช่วงกลียุคที่ผู้คนรบราฆ่าฟันกันก่อนจะเข้าสู่ยุคพระศรีอาริย์ หรืออาจเป็นภาพเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลาช่วงหนึ่งที่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบจากผู้ร้ายและโจรสลัด

Another equally intriguing mural is a painting of a group of people of various races based on their different skin colours, hairstyles, styles of beards, and patterns of their clothes. There are two interpretations of this painting. It might represent the story of the Age of Degeneration (Kaliyuga) where people fought against each other before entering the era of Maitreya. The other interpretation is that it might be the depiction of a historical event in Songkhla during a time of turbulence caused by criminals and pirates.

นอกเหนือจากนี้ยังมีภาพการลักลอบส่งเพลงยาวของหนุ่มสาว ตามแบบอย่างการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวในสมัยโบราณของไทย

There are also paintings of young men and women secretly sending long songs which was a way of courtship between young people in ancient Thailand.


การศึกษาสัญจรเป็นกิจกรรมหลักของสยามสมาคมฯ จัดขึ้นภายใต้พันธกิจในการส่งเสริมความรู้ด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และธรรมชาติวิทยาของประเทศไทยและของประเทศเพื่อนบ้าน

Study trips are a core activity of The Siam Society, in line with its mission to promote knowledge of the culture, history, arts and natural sciences of Thailand as well as those of its neighbouring countries.