เลือกหน้า

Back to news

28 March 2024

The Siam Society’s Study Trip: สังคมพหุวัฒนธรรมของเมืองศรีเทพในวัฒนธรรมทวารวดี

คณะจากสยามสมาคมฯ ได้เดินทางไปยังอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 นำโดยศาสตราจารย์ ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี นอกเหนือจากความสำคัญในฐานะแหล่งอารยธรรมทวารวดีอันเก่าแก่ ซึ่งทำให้เมืองโบราณศรีเทพได้ขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรมโดยองค์การยูเนสโก เมื่อปี พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือมิติทางด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนาที่สามารถอยู่ร่วมกันได้ จากการค้นพบหลักฐานของศาสนาสถานจากศาสนาที่หลากหลายในเมืองโบราณศรีเทพแห่งนี้

Led by Professor Dr Chedha Tingsanchali, The Siam Society organised a study trip to Si Thep Historical Park in Phetchabun Province on 17-18 February 2024. In addition to its significance as an ancient Dvaravati cultural site, earning its recognition as a UNESCO World Cultural Heritage Site in 2023, another equally interesting aspect of Si Thep is its cultural and religious diversity which can be seen through the coexistence of various religious sites in this ancient town.

จากคำบอกเล่าของศาสตราจารย์ ดร.เชษฐ์ เมืองโบราณศรีเทพมีความพิเศษในฐานะเป็นเมืองกึ่งกลางระหว่างขอบเขตวัฒนธรรมเขมรซึ่งมีศาสนาฮินดูเป็นศาสนาหลัก กับวัฒนธรรมทวารวดีซึ่งมีพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลัก 

Professor Dr Chedha explained that the extraordinary nature of the ancient town of Si Thep is because of how the city was located between the Khmer cultural region that worshipped Hinduism, and the Dvaravati culture where Buddhism predominated.

การปรากฏร่วมกันของศาสนาที่หลากหลาย และการปรากฏร่วมกันของศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งเขมรยุคก่อนเมืองพระนครและทวารวดีแบบเสมอกัน ทำให้ศรีเทพพิเศษและแตกต่างไปจากเมืองในวัฒนธรรมทวารวดีและเขมรยุคก่อนเมืองพระนครอื่นๆ ที่ไม่มีการผสมกันทางวัฒนธรรมที่เด่นชัดถึงเพียงนี้

The coexistence of diverse religions and how the Dvaravati and the Pre-Angkorian art were equally evident made Si Thep stand out from other cities in Dvaravati and Pre-Angkorian cultures where the “amalgamation” of religions and cultures was not that prominent.

ลักษณะสังคมแบบพหุวัฒนธรรมของเมืองศรีเทพ เห็นได้จากศาสนสถานในแต่ละความเชื่อตามจุดต่างๆ ของเมืองในและเมืองนอก เช่น สถูปในพุทธศาสนาขนาดมหึมาอย่างเขาคลังในและเขาคลังนอก รวมไปถึงโบราณสถานถ้ำเขาถมอรัตน์ซึ่งเป็นวัดถ้ำในพุทธศาสนามหายาน นอกจากนี้ยังมีศาสนสถานแบบสถาปัตยกรรมเขมรโบราณ อย่างปรางค์ศรีเทพ ปรางค์สองพี่น้อง และปรางค์ฤๅษีที่อุทิศให้กับศาสนาฮินดูไศวนิกาย

The multicultural characteristics of Si Thep can be seen through religious sites of various beliefs scattered around the Inner Town (Muang Nai) and the Outer Town (Muang Nok) such as gigantic Buddhist stupas of Khao Khlang Nai and Khao Khlang Nok, and Khao Thamorrat Cave which is a cave monastery in Mahayana Buddhism. Moreover, there are also Prang Si Thep, Prang Song Phi Nong, and Prang Ruesi which were built in the style of ancient Khmer temples and were dedicated to the Shaivism sect of Hinduism.

ข้อคิดน่าสนใจที่เราได้จากการไปเยือนเมืองโบราณศรีเทพในครั้งนี้ คือการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งมักถูกยึดโยงกับรูปแบบสังคมสมัยใหม่นั้น กลับเป็นสิ่งที่ประพฤติปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยชุมชนโบราณ

An interesting takeaway that we gained from this visit to the ancient town of Si Thep is the concept of living together in a society with racial, religious and cultural differences which is often associated with modern society, is something that has been practised since the time of ancient communities.


การศึกษาสัญจรเป็นกิจกรรมหลักของสยามสมาคมฯ จัดขึ้นภายใต้พันธกิจในการส่งเสริมความรู้ด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และธรรมชาติวิทยาของประเทศไทยและของประเทศเพื่อนบ้าน

Study trips are a core activity of The Siam Society, in line with its mission to promote knowledge of the culture, history, arts and natural sciences of Thailand as well as those of its neighbouring countries.