เลือกหน้า

2ก. ของพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในงานแสดงสินค้าโลก

 

เครื่องราชบรรณาการแก่สหรัฐอเมริกา

สถาบันสมิธโซเนียน – ห้องนิทรรศการ 2

เสื่อหวาย

เสื่อลายมัดหมี่ สีเขียว – เหลือง มีขอบสีม่วง

ของพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ , ค.ศ.1904

งานแสดงสินค้าที่เมืองลุยเซียนา Louisiana Purchase Exposition

วัสดุ หวาย

ยาว 81 ซม. กว้าง 51 ซม.

USNM # 235979

ภานเครื่องแป้งถมตะทอง (พาน)

ของพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ, 1876

นิทรรศการสยาม ในงานฉลองครบรอง 100 ปี ประเทศสหรัฐอเมริกา

วัสดุ เครื่องถม (เงิน เงินผสม และทอง)

USNM # s: 27143, 27144, 27148, 27149, 27150, 27151, 27152, 27156

บ้านทรงไทย

ของพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ, 1876

นิทรรศการสยาม ในงานฉลองครบรอง 100 ปี ประเทศสหรัฐอเมริกา

สูง 35.5 ซม. กว้าง 43 ซม.

USNM # 27372

หน้าทศกรรฐ

ของพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ5, 1876

นิทรรศการสยาม ในงานฉลองครบรอง 100 ปี ประเทศสหรัฐอเมริกา

วัสดุ เปเปอร์มาเช เขียนสี ประดับกระจก และแก้ว

สูง 57 ซม. กว้าง 28 ซม. ลึก 23 ซม.

USNM # 27382 (54232)

นอกจากการแลกเปลี่ยนบรรณาการระหว่างประมุขของประเทศ หลังการการลงนามในสนธิสัญญา รวมทั้งในการเยือนประเทศอย่างเป็นทางการแล้ว ประเทศไทยยังมอบของกำนัลแก่สหรัฐอเมริกาในโอกาสอื่น ๆ อีกด้วย

ประเทศไทยได้เข้าร่วมแสดงในงานแสดงสินค้าโลกซึ่งจัดขึ้นในสหรัฐอเมริกา หลายครั้งช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 บางครั้งก็ยกสิ่งของทั้งหมดที่นำไปแสดงให้ บางครั้งก็ให้เพียงบางส่วนตามแต่จะมีพระบรมราชโองการพระราชทานเป็นบรรณาการแก่ประเทศสหรัฐ ซึ่งปัจจุบันก็เก็บรักษาอยู่ในสถาบัน สมิธโซเนียน ได้แก่สิ่งของทั้งหมดจากการแสดงสินค้าฉลองร้อยปีของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ฟิลาเดลเฟียใน ปี ค.ศ.1876 (มีมากกว่า 900 รายการ) และบางส่วนจากการแสดงที่ นิวออร์ลีนส์ ปี ค.ศ.1884 กับงานแสดงสินค้าโลกที่โคลัมเบีย ใน ค.ศ.1893 และงานแสดงที่ศาลาเกษตรกรรมในงานแสดงสิ้นค้าเมืองลุยเซียนา ใน ค.ศ.1904 (มีมากกว่า 300 รายการ)

 

สำหรับประเทศไทย งานแสดงสินค้าเปรียบเสมือนการมอบเครื่องบรรณาการให้แก่ประเทศผู้จัดงาน จนกระทั่งปี 1880 เมื่อประเทศไทยได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติขึ้น เพราะผู้จัดแสดงต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งสิ่งของและจัดหาเจ้าหน้าที่ประจำงาน สิ่งของเหล่านี้มิได้อยู่ในข้อตกลงใด ๆทั้งสิ้น เพียงแต่ประเทศเจ้าของงานขอร้องให้ร่วมมือ อย่างไรก็ตามอาจถือได้ว่า เครื่องราชบรรณาการเปรียบเสมือนหัวใจของการแสดงในงาน

งานแสดงต่าง ๆ มักออกมาในรูปแบบการแจกจ่าย แต่ถือหลักของเศรษฐกิจการตลาด ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนของกำนัลอย่างแต่ก่อน เพราะไม่มีการมอบของกำนัลจากประเทศเจ้าภาพอาจถือได้ว่าการจัดแสดงสินค้าเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์

ห้องนิทรรศการ 2