เลือกหน้า

3ค. ของพระราชทานอันแสดงถึงมิตรภาพที่ยั่งยืน

 

เครื่องราชบรรณาการแก่สหรัฐอเมริกา

สถาบันสมิธโซเนียน – ห้องนิทรรศการ 3

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ฉายเมื่อปี ค.ศ.1881 ทรงฉลองพระองค์แบบตะวันตก

ของพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ, ค.ศ.1881

เนื่องในโอกาสการแก้ไขสนธิสัญญาแฮริส

หอจดหมายเหตุแห่งชาติมนุษยวิทยา

NAA Neg. #048391.00

อ่านเพิ่มเติม

หนังเขนลิง

ของพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ, ค.ศ.1876

นิทรรศการสยาม, งานฉลองครบ 100 ปี ประเทศสหรัฐอเมริกา

สูง 68 ซม. กว้าง 51 ซม.

USNM # 27218 (T8888 #11)

พระมหาพิไชยราชรถ

ของพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ, ค.ศ.1876

นิทรรศการสยาม, งานฉลองครบ 100 ปี ประเทศสหรัฐอเมริกา

ยาว 40.9 ซม. กว้าง 21 ซม.สูง 40 ซม.

USNM # 27367

แบบจำลองบุษบก (เมรุมาศจำลอง)

พระมหาพิไชยราชรถ

ของพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ให้ประธานาธิบดียูลิสซีส เอส.แกรนต์, ค.ศ.1876

นิทรรศการสยามในงานฉลองครบ 100 ปี ประเทศสหรัฐอเมริกา

แผนกมนุษยวิทยา เลขทะเบียนวัตถุ : E27367

ตลอดระยะเวลา 160 ปี รูปแบบของเครื่องราชบรรณาการได้เปลี่ยนแปลงไปมากจากของพระราชทานตามธรรมเนียมประเพณี และตามโอกาสมาเป็นการคำนึงถึงตัวผู้รับ

พระมหากษัตริย์ยังคงพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ประมุขของประเทศเป็นครั้งคราว ทว่าตลอดรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้มีการทดแทนปรับเปลี่ยนเครื่องอิสริยยศ เครื่องแบบ และเครื่องแต่งกายให้เป็นตะวันตกมากขึ้น เครื่องแบบทหารตะวันตกเข้ามาทดแทนผ้านุ่ง แถบยศเข้ามาแทนที่เหรียญตราพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ จะยิ่งใหญ่หรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้คนในปกครองอีกต่อไปแล้วเพราะต้องเผชิญกับอำนาจตะวันตก พระมหากษัตริย์ทรงปรับเปลี่ยนบทบาทโดยใช้วิธีประสานสัมพันธ์กับอำนาจตะวันตกเพื่อปกป้องประเทศให้รอดพ้นจากการรุกรานและได้รับประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศ

สิ่งของพระราชทานจึงเปลี่ยนจากเครื่องราชบรรณาการที่มุ่งเน้นการสร้างสัมพันธ์ของราชสำนัก ไปเป็นของกำนัลที่เน้นความรุ่งเรืองทางศิลปะและวัฒนธรรมของไทย

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ฉายเมื่อปี ค.ศ.1881 ทรงฉลองพระองค์แบบตะวันตก

  • ของพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ, ค.ศ.1881

  • เนื่องในโอกาสการแก้ไขสนธิสัญญาแฮริส

  • หอจดหมายเหตุแห่งชาติมนุษยวิทยา

  • NAA Neg. #048391.00

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับอิทธิพลตะวันตกมาตั้งแต่มีพระชนม์เยาว์วัย ทั้งพระราชบิดา (สมเด็จพระจอมเกล้าฯ) พระปิตุลา (สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ) และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ทรงเป็น นักวิชาการด้านความรู้ทางตะวันตก ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และภาษา ทรงติดต่อกับบรรดาผู้นำของประเทศตะวันตก ทางสนธิสัญญา การแลกเปลี่ยนของกำนัล และพระราชสาส์น ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเปิดประเทศ เป็นการป้องกันไม่ให้ประเทศไทยตกเป็นอาณานิคมของชาติใด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศตะวันตก เยือนยุโรปในปี ค.ศ.1897 และ ปี ค.ศ.1902 พระบรมวงศานุวงศ์ไทยทรงสนิทสนมกับราชวงศ์เยอรมัน เดนมาร์ค และโดยเฉพาะ พระเจ้าซาร์ นิคโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ฉลองพระองค์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ได้ปรับเปลี่ยนเป็นเครื่องแบบตะวันตก เพื่อแสดงให้โลกตะวันตกเห็นว่าไทยเป็นชาติที่เจริญ และสมควรดำรงความเป็นเอกราช นอกจากนั้นพระองค์ยังทรงสร้างพระราชวังในบริเวณพระบรมมหาราชวังในแบบตะวันตก และทรงใช้เป็นสถานที่ต้อนรับพระราชอาคันตุกะ ด้วยกลยุทธดังกล่าว ประเทศไทยจึงรอดพ้นจากการเป็นประเทศอาณานิคม

ห้องนิทรรศการ 3