เลือกหน้า

บทบาทของเรา

การประชุมและกิจกรรมเวิร์คช็อป

สยามสมาคมฯ จัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติหลายครั้ง เช่น การอภิปรายเรื่องจารึกสุโขทัยที่ 1 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2532 การประชุมนานาชาติเรื่องวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 การประชุมนานาชาติเรื่องพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเยือนยุโรป เมื่อศตวรรษก่อนในปี พ.ศ. 2540 และการประชุมเรื่องการคุ้มครองมรดก หัวข้อ " Heritage Protection: The Asian Experience" เมื่อวันที่ 25 - 26 มกราคม พ.ศ. 2562.

ในปี 2566 สยามสมาคมฯ และ สมาคมมรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEACHA) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในหัวข้อ “Cultural Wisdom for Climate Action: The Southeast Asian Contribution” การประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมจากภาคประชาสังคม นักวิชาการ และผู้นำรุ่นใหม่ การประชุมนี้มุ่งสำรวจว่าประเพณีและแนวปฏิบัติทางวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถกำหนดทิศทางการปรับตัวและการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคนี้ได้อย่างไร

จากความสำเร็จของการประชุมครั้งนี้ สยามสมาคมฯและ SEACHA จึงได้ร่วมมือกับ Petra National Trust แห่งจอร์แดน เพื่อเป็นประธานร่วมในวาระทางวัฒนธรรมของ COP 28 หรือการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่จัดขึ้นที่ดูไบ เพื่อสะท้อนมุมมองของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกี่ยวกับวิธีที่ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จะสามารถช่วยให้เรารับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างไร เราจึงได้ส่งวิทยากรที่มีความสามารถกลุ่มหนึ่งไปนำเสนอประเด็นนโยบายสภาพภูมิอากาศในเวทีระดับนานาชาติ

การขับเคลื่อนสังคม

การประชุมหารือเรื่องข่วงหลวงเวียงแก้ว

คณะทำงาน “อนุรักษ์และสืบสานมรดกวัฒนธรรมเชียงใหม่” นำโดยคุณพิไลพรรณ สมบัติศิริปรึกษากิตติมศักดิ์อาวุโสของสยามสมาคมฯ ในขณะนั้น เข้าเยี่ยมคารวะผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ เพื่อหารือเรื่องความคืบหน้า อุปสรรค แนวทางแก้ไข รวมถึงแผนงานในอนาคตของโครงการข่วงหลวงเวียงแก้ว โดยมีกรรมการพิทักษ์และสืบสานมรดกวัฒนธรรมเชียงใหม่ ผู้อำนวยการและนักโบราณคดีผู้เชี่ยวชาญ สำนักศิลปกรรมภาค 7 และนักออกแบบของโครงการ เข้าร่วมด้วย การประชุมดำเนินไปด้วยดีด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

โครงการข่วงหลวงเวียงแก้วเป็นโครงการที่มุ่งพัฒนาพื้นที่ทัณฑสถานหญิงเดิมให้กลายเป็นสวนสาธารณะ โดยก่อนหน้านี้เคยมีการประกวดแบบสถาปัตยกรรมของสถานที่ดังกล่าว ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากคะแนนเสียงข้างมาก ในขณะเดียวกัน กรมศิลปากรมีความจำเป็นต้องขุดค้นทางโบราณคดีเพิ่มเติมในบริเวณดังกล่าว ทำให้พบหลักฐานที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในหลายมิติ ตัวอย่างการค้นพบนี้ ได้แก่ กำแพงโบราณเวียงแก้ว ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสิ่งที่กำหนดอาณาเขตของกษัตริย์ล้านนา เครื่องปั้นดินเผาโบราณตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง 25 (บางชิ้นมีจารึกที่ยังไม่ถูกตีความ) บ่อน้ำโบราณ และฐานเดิมของสถาปัตยกรรมที่ยังไม่อาจระบุได้แน่ชัด นอกจากนี้ยังมีมรดกสิ่งก่อสร้างบางส่วนจากยุคหลัง เช่น เรือนจำประจำมณฑลพายัพ ซึ่งเป็นเรือนจำแห่งแรกๆ ในสยามที่ได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับที่เรือนจำในประเทศที่พัฒนาแล้ว

“Heritage Matters” บทความโดยสยามสมาคมฯ

คอลัมน์สำหรับเผยแพร่บทสนทนาและแนวคิด เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับการจัดการมรดกวัฒนธรรมของไทยและประเทศใกล้เคียง เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษผ่านหนังสือพิมพ์ Bangkok Post และภาษาไทยผ่าน THE STANDARD