เลือกหน้า

สมาคมมรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEACHA)

Southeast Asian Cultural Heritage Alliance – SEACHA

A joint commitment of government, the people, and the business sector

to cultural heritage protection policies and actions

to safeguard Southeast Asian cultural heritage intact for future generations

 

ความเป็นมาของ SEACHA

ในปี พ.ศ. 2562 สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ฯได้จัดการสัมมนาระดับภูมิภาค ภายใต้หัวข้อ “การคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชีย” ภายใต้บริบทสังคมวัฒนธรรมและการเมืองของเอเชีย โดยมีวิทยากรจากหลายประเทศในเอเชีย อาทิเช่น นักวิชาการ นักปฏิบัติการ องค์กรภาคประชาสังคม ผลลัพธ์จากการสัมมนาในครั้งนี้สะท้อนภาพที่ชัดเจนว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีองค์ความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่าอยู่มากมาย ด้วยเหตุนี้ สยามสมาคมฯ และองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน จึงได้มีมติในการจัดตั้งเครือข่ายพันธมิตรเพื่อพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมในเอเชีย โดยใช้องค์ความรู้จากภูมิปัญญาดั้งเดิมของแต่ละท้องถิ่น รวมถึงโครงการต่างๆเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาค

จากแนวคิดดังกล่าว สมาคมมรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ SEACHA จึงถือกำเนิดขึ้นในเวลาต่อมา

รายนามสมาชิกก่อตั้ง SEACHA

SEACHA เป็นเครือข่ายดิจิทัลขององค์กรภาคประชาสังคมในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม

องค์กรที่ร่วมก่อตั้ง SEACHA ประกอบด้วย:

Indonesia: The Indonesian Heritage Trust

Laos PDR: Mulberries and Phontong-Camacrafts Handicrafts Cooperative

Malaysia: The Penang Heritage Trust

Myanmar: The Yangon Heritage Trust 

Philippines: The Philippines Heritage Conservation Society   

Singapore: The Singapore Heritage Society 

Thailand: สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์

Vietnam: The Center for Research and Promotion of Cultural Heritage of Vietnam

(ยังมีองค์กรภาคประชาสังคมอาเซียนอื่น ๆ ที่คาดว่าจะเข้าร่วมเป็นสมาชิก)

 

ภารกิจ

SEACHA มีเป้าหมายการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและชุมชนในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคประชาคมสังคมและวัฒนธรรมในฐานะเสาหลักที่สามของอาเซียน อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นเวทีสำหรับเครือข่ายระหว่างองค์กรต่างๆที่เป็นสมาชิกอาเซียนอีกด้วย

 

บทบาทของ SEACHA

SEACHA มุ่งเน้นการเชื่อมต่อรัฐบาล ชุมชน และภาคธุรกิจ เพื่อให้เกิดความมุ่งมั่นร่วมกันในการ พัฒนานโยบายในการพิทักษ์มรดกทางวัฒนธรรม และเพื่อปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียนให้กับคนรุ่นหลัง ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการพัฒนากฎหมายข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับมรดกวัฒนธรรม ธรรมภิบาลในการดูแลมรดกวัฒนธรรม การศึกษาให้ความรู้ หน่วยงานภาคประชาสังคม และการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในเรื่องดังกล่าว ด้วยบริบทของการทำงานในระดับภูมิภาค จะช่วยให้การเรียนรู้และพัฒนาร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดความร่วมมือและโครงการที่ก้าวข้ามไปสู่ระดับภูมิภาคมากยิ่งขึ้น

To this end, SEACHA aspires to be

  • เวทีสำหรับการพูดคุยแลกเปลี่ยนในหมู่ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับมรดกวัฒนธรรมอาเซียน ภาคประชาสังคมชุมชน รวมถึงสาธารณะชนที่สนใจ เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมในฐานะองค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาระดับชาติและระดับภูมิภาคอย่างยั่งยืน
  • คลังความคิดและศูนย์รวมทรัพยากร เพื่อสนับสนุนทั้งในเชิงนโยบายและแก่ผู้มีอำนาจตัดสินใจของอาเซียนในด้านมรดกวัฒนธรรม ผ่านการวิเคราะห์ ปรึกษาหารือ ฝึกอบรม จัดการสัมมนาและการประชุม ในการเน้นย้ำต่อรัฐบาลและต่อสาธารณะทั่วไปเกี่ยวกับประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง เสมือนทำหน้าที่เป็น "แรงผลักดัน" อีกส่วนหนึ่งโดยขับเคลื่อนจากสำนึกรับผิดชอบจากภายในอาเซียน หากแต่เป็นอิสระจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นทางการ ของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือภาคส่วนธุรกิจใดๆ ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างประโยชน์ของมรดกทางวัฒนธรรมและเป้าหมายของประชาชน ธุรกิจ และรัฐบาล
  • a responsible, locally based advocateto propose “development of heritage management programs in ASEAN to place cultural heritage at the heart of the ASEAN community building efforts” and “creative solutions to protect heritage sites from damaging commercialization and urbanization”, to the ASEAN Ministers, as set forth in the Vientiane Declaration on Reinforcing Cultural Heritage Cooperation in ASEAN (2016).

กิจกรรมของเรา:

  • กิจกรรมสนทนารายเดือน "Cha-Time with SEACHA"

This is a program for sharing knowledge and experiences on common cultural heritage issues in Southeast Asian countries. SEACHA founding members will nominate a speaker from their countries to present a topic that is relavant to the theme. From one theme, audience will hear 10 stories from 10 countires in Asia. “Building Climate Resiliency through Local Community Wisdom” is the current theme.  Recordings of “Cha-Time with SEACHA” is available at https://www.youtube.com/channel/UCqHA_NYxQtY7NY4sOXKRgwA

  • “Cultural Heritage Management Clinic”

กิจกรรมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการมรดกทางวัฒนธรรม แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน นักการศึกษา สมาชิกชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการออกแบบและดำเนินการตามแผนจริงโดยมีวัตถุประสงค์สองประการคือการอนุรักษ์มรดกและการพัฒนาเศรษฐกิจ

ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SEACHA ได้ที่ www.seacha.org

What’s new at SEACHA?